หมวดที่ 4. หะดีษต่างๆของท่านนบีมีความขัดแย้งกันหรือไม่
ด้วยปรากฏว่า มีการอ้างหะดีษต่างๆที่ขัดแย้งกัน
จึงขออธิบายดังต่อไปนี้
1.คัมภีร์ อัลกุรอ่าน ได้เรียกร้องให้มุสลิมเชื่อฟังท่านศาสดา
เกี่ยวกับเรื่องนี้ อัลกุรอ่านได้ระบุไว้ในซูเราะห์ อัลหัชด โองการที่ 7 ความว่า “และอันใดที่ท่านรอซูลได้นำมายังพวกเจ้า
ก็จงยึดเอาไว้ และอันใดที่ได้ห้ามพวกเจ้า ก็จงละเว้นเสีย”
และในซูเราะห์อันนิซาโองการที่80 ความว่า “ ผู้ใดเชื่อฟังท่านรอซูล
แน่นอนเขาก็เชื่อฟังอัลเลาะห์แล้ว”
บทหะดีษต่างๆ จะมีข้อความที่ท่านศาสดาทรงอนุญาตหรือห้ามไม่ให้เรากระทำ
ด้วยเหตุนี้ หะดีษจึงเป็นส่วนสำคัญของศาสนาอิสลาม
และหากไม่มีการปฏิบัติตามก็เท่ากับเป็นการดำเนินการที่ขัดต่ออัลกุรอ่าน
2. ภายหลังจากที่นักวิชาการมุสลิมได้ศึกษามาเป็นระยะเวลาหลายศตวรรษแล้ว
เกี่ยวกับการจำแนกหะดีษที่แท้จริง ออกจากหะดีษที่ไม่จริง ดังที่เราเคยกล่าวมาแล้ว
ในบทก่อนหน้านี้ แต่อย่างไรก็ดี จะมีการละเลยไม่ปฏิบัติตามหะดีษไม่ได้
เนื่องจากหะดีษนั้น เป็นบ่อเกิดที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองในศาสนาอิสลาม
จึงจำเป็นที่จะต้องปฎิบัติตามคำสอนของหะดีษ โดยตระหนักถึงการค้นคว้าทางอิสลามว่า
มีการจำแนกหะดีษที่แท้จริงออกจากหะดีษที่มีความขัดแย้งกันแล้ว
3.หะดีษของท่านศาสดา เป็นการขยายความในคัมภีร์อัลกุรอ่าน
เช่นชาวมุสลิมจะต้องละหมาดทุกวันตามพิธีการที่ปรากฏในรายละเอียดตามหะดีษ
แต่ทว่าพิธีการดังกล่าวนั้นไม่ได้ระบุในอัลกุรอ่าน
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเรื่องที่สามารถอธิบายได้ด้วยตัวบทหะดีษ
4. คัมภีร์อันศักดิสิทธิ์ในศาสนาที่มีการนับถือพระผู้เป็นเจ้าก่อนอิสลามได้จารึกไว้ในลักษณะเช่นเดียวกับการบัญญัติหะดีษ
ทั้งนี้ไม่มีผู้ศรัทธาในศาสนาดังกล่าว คือศาสนายิว และคริสต์
ถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนาของตน เนื่องจากมีข้อขัดแย้งหรือยังขาดการตรวจสอบ ดังนั้น
ในกรณีเช่นนี้ ควรจะมีการตรวจสอบประเพณีในศาสนาดังกล่าว ถูกต้องหรือไม่ประการใด
ซึ่งในกรณีของศาสนาอิสลามนั้น นักวิชาการได้ดำเนินการมาแล้ว ตั้งแต่หลายศตวรรษก่อนหน้านี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น