วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

หมวดที่ 2 . คัมภีร์อัลกุรอ่าน ลอกเลียนแบบมาจากศาสนาที่มีมาก่อนจริงหรือ ?

หมวดที่ 2 . คัมภีร์อัลกุรอ่าน ลอกเลียนแบบมาจากศาสนาที่มีมาก่อนจริงหรือ ?

         1. ถ้าหากว่าคัมภีร์อัลกุรอานเลียนแบบมาจากคัมภีร์ศาสนาก่อนหน้านี้ บรรดาผู้ที่มีชีวิตร่วมสมัยกับท่านและบรรดาผู้ที่ต่อต้านจะนิ่งเฉยอยู่ได้อย่างไร พวกเขาเหล่านั้นจะต้องกล่าวหาศาสดาอย่างแน่นอน แต่ปรากฏว่าพวกเขากลับนิ่งเฉย เนื่องจากข้อกล่าวหาไม่มีมูลความจริงและขาดซึ่งหลักฐาน มาลบล้าง  เกี่ยวกับเรื่องนี้คัมภีร์อัลกุรอ่านเองได้มีการกล่าวถึงข้ออ้างดังกล่าวด้วย ดังที่ข้าพเจ้าได้เคยกล่าวมาครั้งหนึ่งแล้วในการตอบโต้ข้อสงสัยก่อนๆ



          2.คัมภีร์อัลกุรอานได้ประมวลบทกฏหาย บทบัญญัติ กฏเกณฑ์ คำสั่งและคำชี้แจง ซึ่งไม่เคยมีปรากฏในคัมภีร์ของศาสนาใดๆ ก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นคัมภีร์อัลกุรอานยังได้รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประชาชาติยุคก่อน ตลอดจนเรื่องราวเร้นลับ ซึ่งปรากฏขึ้นจริงตามที่แจ้งไว้ในอัลกุรอาน เช่น จุดจบข้อพิพาทระหว่างโรมันกับเปอร์เซีย เหตุการณ์นี้ศาสดาและเหล่าสาวก ตลอดจนบรรดาชาวคัมภีร์ต่างๆ ก็ไม่เคยล่วงรู้มาก่อนเลย

          3.แท้จริงอัลกุรอานส่งเสริมให้ศึกษาหาความรู้ ให้เกียรติผู้ที่ใช้สติปัญญา สืบเนื่องจากคำสั่งสอนของศาสนาอิสลามชาวมุสลิมจึงสามารถสร้างอารยธรรมขึ้นมาและทดแทนอารยธรรมก่อนๆ และดำรงอยู่หลายศตวรรษ หากอัลกุรอานได้ลอกแบบตามคัมภีร์อื่นแล้วไซร้ เหตุใดจึงไม่มีคำสั่งสอนและบทบาทเช่นเดียวกับศาสนาอิสลามเล่า

          4.คัมภีร์อัลกุรอาน เป็นคัมภีร์ที่มีเนื้อหาและสำนวนโวหารที่เป็นเลิศ หากว่าอัลกุรอานเลียนแบบคัมภีร์อื่นแล้วละก็ จะต้องมีข้อความที่ขัดแย้ง ขาดความชัดเจนเพราะจะมีแหล่งกำเนิดจากหลากหลายแห่งด้วยกัน นอกจากนั้นอัลกุรอานได้กล่าวถึงการใช้เหตุผลของมนุษย์อยู่เสมอ แท้จริงอัลกุรอานได้ตั้งอยูบนหลักฐานของข้อพิสูจณ์ที่เด่นชัด นอกจากนี้ยังได้เชิญชวนผู้ที่ไม่เห็นด้วย ดังปรากฏในซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 111 ความว่า

"จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า พวกท่านจงนำหลักฐานของพวกท่านมาหากพวกท่านเป็นผู้ที่พูดจริง"



และซูเราะฮ์ อันนัมล์ โองการที่ 64 ความว่า


"จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) จงนำหลักฐานของพวกท่านมาหากพวกท่านเป็นผู้สัจจริง"



          5. ส่วนวัฒนธรรมก่อนอิสลามนั้น ซึ่งมีการกล่าวอ้างว่า คัมภีร์อัลกุรอ่าน ได้เอามาด้วย มีหลักฐานที่ชัดแจ้งว่า อิสลามได้ปฏิเสธหลักการต่างๆ ก่อนอิสลาม ขนบธรรมเนียมที่ป่าเถื่อนและแบบอย่างที่ได้ยกเลิกไปแล้ว โดยได้นำหลักฐานที่ถูกต้องแทนที่ความชั่วร้ายดังกล่าว ด้วยหลักเกณฑ์ ขนบธรรมเนียมและแบบอย่างที่ดีงาม และเป็นที่ประจักชัดว่า ศาสนาอิสลามได้ปฏิเสธความเชื่อถือในยุคก่อนกำเนิดของศาสนาอิสลาม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น