วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

หมวดที่ 1 ศาสดามุฮัมหมัด(ซ.ล.) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาเพื่อเผยแพร่อิสลามให้ชาวอาหรับหรือมนุษยชาติทั้งมวล

หมวดที่ 1 ศาสดามุฮัมหมัด(ซ.ล.)  ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาเพื่อเผยแพร่อิสลามให้ชาวอาหรับหรือมนุษยชาติทั้งมวล

      1.นับตั้งแต่ศาสดามุฮัมหมัด(ซ.ล.) ทรงประกาศศาสนาอิสลามให้แก่มนุษยชาติในครั้งแรกนั้น พระองค์ทรงตรัสว่า แท้จริงฉันเป็นศาสนาทูตของอัลเลาะห์ ที่ถูกส่งมายังพวกท่าน และเพื่อมวลมนุษยชาติทั้งมวลซึ่งหมายความว่าพระองค์เป็นผู้นำศาสนาเพื่อมนุษยชาติทั้งมวล และมิได้กล่าวอ้างว่า อิสลามเป็นศาสนาของชาวอาหรับเพียงอย่างเดียวแต่เป็นศาสนาเพื่อมวลมนุษยชาติทั้งหมด และพระองค์ยังทรงตรัสเน้นเสริมอีกว่าศาสดาองค์ก่อนๆถูกส่งมาเพื่อกลุ่มชนของเขาเท่านั้น แต่ฉันถูกส่งลงมาเพื่อประชาชาติทั้งมวล

      2.ผู้ใดก็ตามที่อ่านคัมภีร์อัลกุรอ่าน ด้วยความเข้าใจแล้ว พบว่าอัลกุรอ่านได้เชิญชวนและเรียกร้องให้มนุษย์ทุกคนไปสู่ศาสนาของอัลเลาะห์  คุณลักษณะดังกล่าวนี้เป็นเรื่องชัดแจ้งเสมือนแสงสว่าง ที่ปรากฏอยู่ในโองการต่างๆ ซึ่งถูกประทานลงมา ณ นครมักกะห์ ก่อนที่ท่านศาสดาจะอพยพ ดังปรากฏหลักฐานในอัลกุรอ่าน ซูเราะห์ อัลอันบียา โองการที่ 107 ความว่า และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด นอกจากเพื่อความเมตตาต่อประชาชาติทั้งหลาย”  และในซุเราะห์อัลฟาติฮะห์ ซึ่งเป็นซูเราะห์แรกในอัลกุรอ่านความว่าการสรรเสริญทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิแด่อัลเลาะห์ ผู้เป็นพระเจ้าของสากลโลก

      3. จากข้อเท็จจริงที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าท่านศาสดาไม่ได้เปลี่ยนแปลงแผนการของพระองค์เลย หากแต่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามศาสนาและบทบัญญัติของอิสลาม โดยเรียกร้องตามขั้นตอน ซึ่งวิวัฒนาการดังกล่าวนั้นถือเป็นเรื่องธรรดา เนื่องจากว่าเป็นการยากยิ่งสำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ศาสนคติ นิสัย และประเพณีที่ฝังลึกยากต่อการยกเลิก ในเริ่มแรกของการก่อตั้งอิสลาม ได้มีการปลูกฝักหลักการแห่งการศรัทธาในดวงจิตและจิตใจของมนุษย์ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นรากฐานของบัญญัติที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงวิธีชีวิตคน อิสลามได้ใช้วิธีการแบบนี้ ซึ่งค่อยๆ นำไปสู่การห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ห้ามขูดรีด ด้วยการเก็บดอกเบี้ย การยกเลิกทาส ในช่วงระยะเวลาการเผยแพร่ในนครมักกะห์นั้น ได้เน้นเกี่ยวกับหลักการศรัทธาเป็นหลักใหญ่ ส่วนในช่วงนครมะดีนะห์ ได้เริ่มมีการบัญญัติรายละเอียดตามศาสนากำหนดต่อไป


หมวดที่ 4. หะดีษต่างๆของท่านนบีมีความขัดแย้งกันหรือไม่

หมวดที่ 4. หะดีษต่างๆของท่านนบีมีความขัดแย้งกันหรือไม่

ด้วยปรากฏว่า มีการอ้างหะดีษต่างๆที่ขัดแย้งกัน จึงขออธิบายดังต่อไปนี้

      1.คัมภีร์ อัลกุรอ่าน ได้เรียกร้องให้มุสลิมเชื่อฟังท่านศาสดา เกี่ยวกับเรื่องนี้ อัลกุรอ่านได้ระบุไว้ในซูเราะห์ อัลหัชด โองการที่ 7 ความว่า และอันใดที่ท่านรอซูลได้นำมายังพวกเจ้า ก็จงยึดเอาไว้ และอันใดที่ได้ห้ามพวกเจ้า ก็จงละเว้นเสีย
และในซูเราะห์อันนิซาโองการที่80 ความว่า  ผู้ใดเชื่อฟังท่านรอซูล แน่นอนเขาก็เชื่อฟังอัลเลาะห์แล้ว”  บทหะดีษต่างๆ จะมีข้อความที่ท่านศาสดาทรงอนุญาตหรือห้ามไม่ให้เรากระทำ ด้วยเหตุนี้ หะดีษจึงเป็นส่วนสำคัญของศาสนาอิสลาม และหากไม่มีการปฏิบัติตามก็เท่ากับเป็นการดำเนินการที่ขัดต่ออัลกุรอ่าน

      2. ภายหลังจากที่นักวิชาการมุสลิมได้ศึกษามาเป็นระยะเวลาหลายศตวรรษแล้ว เกี่ยวกับการจำแนกหะดีษที่แท้จริง ออกจากหะดีษที่ไม่จริง ดังที่เราเคยกล่าวมาแล้ว ในบทก่อนหน้านี้ แต่อย่างไรก็ดี จะมีการละเลยไม่ปฏิบัติตามหะดีษไม่ได้ เนื่องจากหะดีษนั้น เป็นบ่อเกิดที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองในศาสนาอิสลาม จึงจำเป็นที่จะต้องปฎิบัติตามคำสอนของหะดีษ โดยตระหนักถึงการค้นคว้าทางอิสลามว่า มีการจำแนกหะดีษที่แท้จริงออกจากหะดีษที่มีความขัดแย้งกันแล้ว


      3.หะดีษของท่านศาสดา เป็นการขยายความในคัมภีร์อัลกุรอ่าน เช่นชาวมุสลิมจะต้องละหมาดทุกวันตามพิธีการที่ปรากฏในรายละเอียดตามหะดีษ แต่ทว่าพิธีการดังกล่าวนั้นไม่ได้ระบุในอัลกุรอ่าน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเรื่องที่สามารถอธิบายได้ด้วยตัวบทหะดีษ

      4. คัมภีร์อันศักดิสิทธิ์ในศาสนาที่มีการนับถือพระผู้เป็นเจ้าก่อนอิสลามได้จารึกไว้ในลักษณะเช่นเดียวกับการบัญญัติหะดีษ ทั้งนี้ไม่มีผู้ศรัทธาในศาสนาดังกล่าว คือศาสนายิว และคริสต์ ถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนาของตน เนื่องจากมีข้อขัดแย้งหรือยังขาดการตรวจสอบ ดังนั้น ในกรณีเช่นนี้ ควรจะมีการตรวจสอบประเพณีในศาสนาดังกล่าว ถูกต้องหรือไม่ประการใด ซึ่งในกรณีของศาสนาอิสลามนั้น นักวิชาการได้ดำเนินการมาแล้ว ตั้งแต่หลายศตวรรษก่อนหน้านี้

หมวดที่ 3 หะดีษต่างๆของท่านศาสดา เป็นสิ่งที่ถูกต้องและเที่ยงแท้หรือไม่

หมวดที่ 3 หะดีษต่างๆของท่านศาสดา เป็นสิ่งที่ถูกต้องและเที่ยงแท้หรือไม่

   ด้วยปรากฏว่ามีนักบูรพาคดีชาวตะวันตก ชื่อ goldzieher ยังคงสงสัยเกี่ยวกับหะดีษของท่านศาสดามุฮัมหมัด(ซ.ล.)  ว่าอาจจะไม่เป็นเรื่องที่ถูกต้องแท้จริง โดยเห็นว่าหะดีษดังกล่าว เป็นเพียงสิ่งซึ่งชาวมุสลิมได้คิดค้นขึ้นมาเองในสมัยแรกเริ่มอิสลาม และต่อไปนี้ คือการตอบโต้ข้อเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ

      1. หะดีษ หรือ สุนนะห์ เป็นบ่อเกิดของอิสลามที่มีความสำคัญอันดับสองรองลงมาจากคัมภีร์อัลกุรอ่าน ทั้งนี้ เนื่องจากท่านศาสดา ทรงได้รับบัญชาในอัลกุรอ่าน ให้เผยแพร่สิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าประทาน ดลใจมาให้แก่มนุษย์ทั้งปวง และในขณะเดียวกัน ก็ได้บัญชาให้ท่านศาสดาขยายความ และอรรถาธิบายอัลกุรอ่าน  ดังปรากฏในอัลกุรอ่าน ซูเราะห์ อัลมาอีดะห์ โองการที่ 67 ความว่า โอ้รอซูลเอ๋ย จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้า จากพระเจ้าของเจ้า และถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ เจ้าก็มิได้ประกาศสาสน์ของพระองค์ และอัลเลาะห์นั้นจะทรงคุ้มกันเจ้าให้พ้นจากมนุษย์ แท้จริงอัลเลาะห์นั้น  ไม่ทรงแนะนำพวกที่ปฏิเสธศรัทธา  ” 

   และในซูเราะห์อัลนะห์ โองการที่  44 ความว่า  “ ด้วยหลักฐานทั้งหลายที่ชัดแจ้ง และคัมภีร์ต่างๆที่ศักดิ์สิทธิ์ และเราได้ให้อัลกุรอ่านแก่เจ้า เพื่อเจ้าจะได้ชี้แจง (ให้กระจ่าง) แก่มนุษย์ ซึ่งสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาแก่พวกเขา และเพื่อที่พวกเขาจะได้ไตร่ตรอง  ”  

    และในโองการที่ 64 ความว่า และเรามิได้ให้คัมภีร์นี้ลงมาแก่เจ้า เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อให้เจ้าชี้แจงให้แจ่มแจ้งแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขาขัดแย้งกัน และเพื่อเป็นการชี้แนวทางและเป็นเมตตาแก่หมู่ชนผู้ศรัทธา” 

       และการอรรถาธิบายอัลกุรอ่านดังกล่าว ก็คือหะดีษ และแนวทางปฏิบัติของท่านศาสดา ซึ่งรวมถึงคำพูด พฤติกรรม และ การยอมรับของท่าน โดยที่ท่านศาสดาเอง ได้ชี้แจงถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามหะดีษของท่าน ซึ่งปรากฏอยู่ในสุนทรพจน์อำลาครั้งสุดท้าย ก่อนที่พระองค์จะทรงสิ้นพระชนว่า ข้าพเจ้าได้ทิ้งสองอย่างไว้กับพวกท่าน และหากพวกท่านยึดถือและปฏิบัติตามทั้งสองอย่างนี้แล้ว พวกท่านไม่มีวันหลงทาง นั่นก็คือ อัลกุรอ่าน และแนวทาง(หะดีษ) ของฉัน

      2. ถึงแม้จะมีการยอมรับกันว่า มีหะดีษ หลายเรื่อง ที่มิใช่เป็นของท่านศาสดาก็ตาม แต่ทว่า นักวิชาการอิสลาม ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้เสมอ โดยนักวิชาการเหล่านั้น ได้ตรวจสอบความถูกต้องของหะดีษต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ คัมภีร์อัลกุรอ่านได้วางหลักเกณฑ์สำหรับการวินิจฉัยดังปรากฏหลักฐานในอัลกุรอ่าน  ซูเราะห์อัลหุจญรอจน์ โองการที่

       ความว่า โอ้ศรัทธาชนทั้งหลายหากคนชั่วนำข่าวใดๆมาแจ้งแก่พวกเจ้า พวกเจ้าก็จงสอบสวนให้แน่ชัดในการพิจรณาถึงความถูกต้องของหะดีษนี้นั้นต้องคำนึงถึงบุคลิก อุปนิสัย ตลอดจนความประพฤติทางศิลธรรมของทุกคน ที่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรายงานหะดีษของท่านศาสดา และวิธีการดังกล่าวนี้ ได้ถูกนำมาใช้สำหรับพัฒนาการของการค้นคว้าทางด้านประวัติศาสตร์

      3.สืบเนื่องจากความสำคัญของหะดีษ ที่มีต่อศาสนาอิสลาม บรรดานักวิชาการจึงได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาหะดีษให้มีความถูกต้อง โดยจำแนกหะดีษที่แท้จริง ออกจากหะดีษปลอมเป็นส่วนๆไป จากนั้น จึงได้ก่อตั้งสาขาวิชาขึ้นใหม่เพื่อศึกษาวิชาฮะดีษเป็นการเฉพาะ โดยสาขาวิชาดังกล่าวนั้น คือวิชาที่ว่าด้วยคุณลักษณะของผู้รายงาน วิชาที่ว่าด้วยการสืบสายหะดีษ ในการนี้ท่านศาสดา ทรงกล่าวเตือนผู้ซึ่งกล่าวข้อความที่เป็นเท็จ มีการกระทำที่ไม่ดีต่อตนว่า ผู้ใดที่ตั้งใจจะกล่าวเท็จต่อฉัน ก็จงเตรียมหาที่พักพิงในนรก

       4.ในบรรดานักวิชาการทั้งหลายที่ได้อุทิศค้นคว้าหะดีษที่แท้จริงของท่านศาสดานั้น คือ ท่านอีหม่ามอัลบุคอรี(มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 810-870) เป็นผู้ที่ได้รวบรวมหะดีษไว้มากกว่าครึ่งล้านเรื่อง แต่หลังจากที่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดและในเชิงวิชาการแล้ว คงเหลือเก้าพันเรื่องที่ถือว่าเป็นหะดีษที่แท้จริง

   อย่างไรก็ตามในจำนวนเก้าพันหะดีษนั้น มีหลายเรื่องที่มีข้อความซ้ำซ้อนกัน จึงตัดให้เหลือประมาณ 3000 หะดีษ

5.ผลจากความพยายามอย่างที่สุดของนักวิชาการหะดีษ  ที่ทุ่มเท ค้นคว้า การตรวจสอบ ความถูกต้องที่แท้จริงของฮะดีษ และแป็นที่ยอมรับเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีหนังสือเพียงหกเล่มที่ได้รวบรวมหะดีษ โดยตรงคือ ซอเฮียะห์ อัลบุคอรี ซอเฮียะห์ มุสลิม ซุนันนาซาอี ซุนันอาบีดาวุด ซุนันอัรตัรมีซี และซุนันอิบนิมายะ นอกจากนั้นยังมีเอกสารทางวิชาการเผยแพร่อีกมากมายของผู้แต่งชาวมุสลิม ที่ได้เขียนเรื่องหะดีษต่างๆที่ถูกปฏิเสธ จึงเป็นเรื่องที่ชัดเจนว่า นักวิชาการมุสลิมหลายคน ได้ให้ความสำคัญกับการรวบรวมหะดีษที่แท้จริงเป็นอย่างมาก และเป็นเรื่องที่ไร้เหตุผลที่ยังมีผู้สงสัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป

หมวดที่ 2 อะไรคือสาเหตุที่ท่านศาสดาแต่งงานกับผู้หญิงหลายคน

หมวดที่ 2 อะไรคือสาเหตุที่ท่านศาสดาแต่งงานกับผู้หญิงหลายคน

      1. เมื่อท่านศาสดามุฮัมหมัด(ซ.ล.)  มีพระชนมายุได้ 25 ปี ได้ทรงสมรสกับพระนางคอดียะห์ ซึ่งเป็นคู่สมรสแรกของพระองค์ โดยพระนางมีอายุมากกว่าพระองค์ 15 ปี และเคยแต่งงานมาแล้ว 2 ครั้งพระองค์ได้ใช้ชีวิตคู่ร่วมกับพระนางเป็นระยะเวลานานถึง 28 ปี จนกระทั่งพระนางได้เสียชีวิต ท่านศาสดาก็ยังระลึกถึงช่วงระยะเวลาดังกล่าว  จนเป็นเหตุให้ภรรยาบางท่านของพระองค์เกิดความรู้สึกอิจฉาในเวลาต่อมา

      2. ชีวิตพระองค์ทั้งก่อนและหลังจากการได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสดา เป็นที่ทราบกันดีว่า พระศาสดาไม่ใช่ผู้ที่หมกมุ่นในเรื่องเพศ ฉะนั้นเป็นไปได้อย่างไรที่คนมีอายุมากกว่า 50 ปีแล้วจะหมกมุ่นในเรื่องดังกล่าวทั้งๆที่พระศาสดาสมัยเป็นหนุ่ม พระองค์มีโอกาสที่จะตักตวงเรื่องนี้ได้เหมือนกับเพื่อนๆ ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน แต่พระองค์ก็มิได้สนองโอกาสนั้น ซึ่งในบรรดาภรรยา ของพระองค์นั้น มีเพียงพระนางอาอีชะห์ ผู้เดียวที่เป็นผู้หญิงพรมจรรย์ ส่วนภรรยาคนอื่นเป็นหม้ายมาก่อน การแต่งงานของพระองค์นั้นเป็นการแต่งงานเพื่อมีเป้าหมายด้านมนุษยธรรมหรือด้วยเหตุผลที่จะปฏิบัติตามหลักการทางศาสนา แต่มิใช่เพราะเหตุผลทางด้านความใคร่ 

      3. หลังจากที่พระองค์อยู่ในวัยเกิน 50 พรรษา พระองค์ได้สมรสกับพระนางเซาดะห์ ธิดาของซัมอะห์ ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาสาวกที่เป็นหม้าย และเป็นที่ทราบกันดีว่า พระนางเซาเดาะห์ไม่ได้เป็นคนสวย ร่ำรวย และไม่ได้มาจากตระกูลที่สูงส่ง พระองค์ทรงแต่งงานกับพระนางเพื่อให้ความช่วยเหลือและให้การเลี้ยงดูครอบครัวของสาวกของท่านผู้ซึ่งพลีชีพในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า ส่วนการสมรสกับพระนางอาอีชะห์ ซึ่งเป็นธิดาของอบูบักร และพระนางฮับเซาะห์ธิดาของอุมัร  เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับบบุคลทั้งสอง

      4.ในส่วนของพระนางอุมมุซาลามะห์ พระนางหญิงที่เป็นหม้ายที่สูญเสียสามีในสงครามอุฮุด ทั้งๆที่พระนางมีอายุมาก แต่พระองค์ก็ประสงค์ที่จะแต่งงานกับพระนาง ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลทางด้านมนุษยธรรม

     ส่วนพระนางรอมละห์ ธิดาของอบูซุฟยาน ซึ่งอพยพไปยังเอธิโอเปียพร้อมสามีผู้ที่ได้ละทิ้งศาสนาอิสลาม และหันไปนับถือ ศาสนาคริสต์ ได้ละทิ้งพระนางไปโดยไม่ให้การดูแล ท่านศาสดาจึงส่งสารไปยังกษัตริย์นายาชี่ ผู้ครองประเทศเอธิโอเปีย ขอให้กษัตริย์ส่งพระนางรอมละห์กลับ เพื่อมีเจตนาที่จะช่วยเหลือให้พระนางร้อดพ้นจากการถูกประหารชีวิต และพระองค์ทรงหวังว่า การสมรสกับพระนางนั้น จะทำให้บิดาของพระนางซึ่งมีอิทธิพลในนครมักกะห์เข้ารับอิสลาม

    พระองค์สมรสกับพระนางยาวารียะห์ ธิดาของอัลฮารีส  และเป็นหนึ่งในเชลยศึกที่ถูกจับในสมรภูมิ อัลมุสตาลาก เนื่องจากบิดาของพระนางเป็นหัวหน้าเผ่า พระศาสดาจึงให้เกรียติ และปกป้องพระนางจากการเป็นเชลยศึกด้วยการสมรสกับพระนาง และพระองค์ทรงเรียกร้องให้ชาวมุสลิมปลดปล่อยผู้เป็นเชลย และก็ได้รับการตอบสนอง
    พระองค์ได้สมรสกับพระนางซอฟียะห์ ธิดาของหัวหน้าเผ่ายิวแห่งบานูการีเซาะห์ โดยพระองค์เปิดโอกาสให้พระนางเลือกที่จะสมรสกับพระองค์หรือกลับไปยังพวกของตน ซึ่งพระนางตัดสินใจที่จะสมรสกับท่านศาสดา

      5.ท่านศาสดาสมรสกับพระนางซัยนับ ธิดาของยะชิน และมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระองค์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสนา โดยก่อนหน้านี้พระนางได้สมรสกับ เซด บินซาบิต บุตรบุญธรรมของท่านศาสดา แต่การสมรสครั้งนั้นไม่ได้ยั่งยืนและมีการหย่าร้างในเวลาต่อมา ประเพณีของอาหรับในสมัยนั้นได้ห้ามไม่ให้ผู้ชายแต่งงานกับผู้หญิงที่ได้หย่าร้างกับบุตรบุญธรรมของตนเอง แต่ทั้งนี้ท่านศาสดาได้รับวฮีจากพระผู้เป็นเจ้าเพื่อยกเลิกข้อกล่าวหาดังกล่าว ดังปรากฏใน อัลกุรอ่าน ซูเราะห์อัลอะซาบ ความว่า และเมื่อเซดได้หย่าร้างกับนางแล้ว เราได้ให้เจ้าแต่งงานกับนาง เพื่อที่จะได้ไม่เป็นที่ลำบากใจแก่บรรดาผู้ศรัทธาชายในเรื่อง (การสมรสกับ ) ภริยาของบุตรบุญธรรมของพวกเขา เมื่อพวกเขาหย่าร้างกับพวกนางแล้ว และพระบัญชาของอัลเลาะห์นั้น จะต้องบรรลุผลเสมอ


หมวดที่ 4. การรวบรวมอัลกุรอ่าน มีการละทิ้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของคัมภีร์อัลกุรอ่านหรือไม่

หมวดที่ 4. การรวบรวมอัลกุรอ่าน มีการละทิ้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของคัมภีร์อัลกุรอ่านหรือไม่

        1.ท่านศาสดามุฮัมหมัดทรงคัดเลือกบรรดาสาวกและผู้ใกล้ชิดด้วยพระองค์องเอง เพื่อที่จะจดบันทึกข้อความในอัลกุรอ่านเป็นลายลักษณ์อักษร โดยการบอกเล่าวฮีของพระผู้เป็นเจ้า ในการนี้ผู้จดบันทึกได้ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เท่าที่สามารถหาได้ในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสัตว์ ไม้ เศษหิน หรือกระดูก แหล่งข้อมูลของอิสลามที่เชื่อถือได้ระบุว่ามีผู้จดบันทึกวฮีทั้งหมด 29 คน รวมทั้งท่านคอลีฟะห์ทั้งสี่ อบูบักร์ อุมัร อุสมาน และ อาลี นอกจากนี้ยังมีมุอาวียะห์ ซุเบร อิบนิลเอาวาม ซะอี๊ด บินอาส  อัมร์บินอาส   อาลีบินกะ และเซตบินซาบิต

       2. นอกจากมีการบันทึกวฮีแล้ว ยังมีการท่องจำอัลกุรอ่าน การอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่าน ซึ่งประเพณีนี้ยังคงมีตราบเท่าทุกวันนี้ ในสมัยที่ท่านศาสดายังมีชีวิตอยู่ ได้มีบรรดาสาวกของพระองค์หลายร้อยคนที่ได้ท่องจำคัมภีร์อัลกุรอ่านอย่างขึ้นใจ และท่านศาสดาได้ตรัสว่าในช่วงเดือนรอมาดอนของทุกปีพระองค์ได้ทรงทบทวนอัลกุรอ่านต่อหน้าเทวทูตญิบรีล (กาเบรียล) ในเดือนรอมาดอนสุดท้ายก่อนที่ท่านจะสวรรคตนั้นท่านญิบรีลได้ทบทวน อัลกุรอ่านทั้งหมด 2 ครั้ง ด้วยเหตุนี้ ได้มีการจดบันทึกเป็นครั้งสุดท้ายในช่วงปลายอายุของท่านศาสดา ในการจดบันทึกดังกล่าวได้ปฏิบัติตามบัญชาของท่านศาสดา โดยทุกโองการอยู่ในลำดับตามที่พระองค์ทรงประสงค์

       3. หลังจากที่ท่านศาสดาได้สวรรคตได้ 1 ปี บรรดาสาวกผู้ที่ท่องจำอัลกุรอ่านอย่างชึ้นใจ ได้เสียชีวิตจำนวน 70 คน ในสมรภูมิอัลญ่ามามะห์ กับพวกมูไซละมะห์  อัลกัซซาบ ท่านคอลีฟะห์ อุมัร อิบนิคอตตอบ ได้เสนอให้เซด บิน ซาบิต ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาสาวกที่ได้จดบันทึกวฮีให้ทำการรวบรวมอัลกุรอ่านที่ได้จดบันทึกไว้ตามที่ต่างๆ โดยได้จัดทำขึ้นมาใหม่ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการใช้ในโอกาสครั้งต่อไป ในการนี้ได้มีการวางหลักเกณฑ์ในการการรวบรวมอย่างเข้มงวด กล่าวคือจะไม่มีการถือว่าเอกสารเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอ่านหากไม่ได้รับการยืนยันโดยพยานสองคนว่าเป็นข้อความที่ท่านศาสดาทรงบอกเล่าเอง  บรรดาสาวกที่ท่องจำอัลกุรอ่านอย่างขึ้นใจจึงมีบทบาทสำคัญยิ่ง และเมื่อเซตบินซาบิตได้เสร็จสิ้นภารกิจรวบรวมอัลกุรอ่านก็ได้ส่งมอบต้นฉบับให้แก่ท่าน คอลีฟะห์ อบูบักร์ และก่อนที่ท่านอบูบักรจะถึงแก่อสัญกรรมได้ส่งมอบให้แก่คอลีฟะห์อุมัร บินคอตตอบ และก่อนที่ท่านอุมัรจะถึงแก่อสัญกรรมก็ได้ส่งมอบต้นฉบับดังกล่าว ให้แก่พระนางฮับเซาะห์บุตรสาวของตน

       4.ภายใต้การปกครองของท่านอุสมาน บิน อัฟฟาน คอลีฟะห์องค์ที่สาม ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้จดบันทึกสี่ท่านด้วยกันในจำนวนนี้มีเซต บินซาบิต รวมอยู่ด้วย คณะกรรมการดังกล่าวได้คัดลอก อัลกุรอ่านขึ้นมา 5 ฉบับ และได้จัดส่งไปยัง นครมักกะห์ นครมะดีนะห์ นครบัสเราะห์ นครคูฟะห์ และนครดามัสกัส โดยที่คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ยึดถือและทบทวนจากต้นฉบับที่พระนางฮับเซาะห์เก็บรักษาไว้ โดยได้เปรียบเทียบกับกับอัลกุรอ่านที่ได้มีการท่องจำในสมัยที่พระศาสดายังมีชีวิตอยู่ นั่นก็คือ อัลมุศฮัฟ ที่ใช้อยู่ทุกหนแห่งในโลกอิสลาม ซึ่งเป็นแบบฉบับที่ไม่มีการแก้ไขใดๆจนถึงทุกวันนี้ โดยไม่มีมุสลิมคนใดที่โต้แย้งความถูกต้องของอัลกุรอ่านดังกล่าว ตลอดระยะเวลาดังกล่าวตลอดระยะเวลา 1400 ปีที่ผ่านมา

       มีนักบูรพาคดีหลายคนรวมทั้ง Mr. Leblois  และ Mr . Muir และผู้เชี่ยวชาญร่วมสมัยชาวเยอรมัน  Mr. Rudi Paret ได้ยืนยัน ข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยที่ Mr . Rudi Paret  ได้เขียนคำนำที่ตนแปลขึ้นว่า เราไม่มีเหตุผลที่จะต้องสันนิษฐานว่า แม้เพียงโองการเดียวในอัลกุรอ่านทั้งหมดไม่ได้มาจากท่านศาสดามุฮัมหมัด

      สิ่งที่ Mr . Paret  ต้องการที่จะกล่าวก็คือ ภายหลังจากที่ท่านศาสดาได้สวรรคตแล้ว ไม่มีบุคคลใด ได้เปลี่ยนแปลงข้อความที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอ่านเลย และได้มีการพิสูจน์แล้วว่า ไม่มีอัลกุรอ่าน ฉบับอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากอัลกุรอ่านที่ได้จดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในสมัยท่านคอลีฟะห์ อุสมาน บินอัฟฟาน หากปรากฏว่าเหล่าสาวกของท่านศาสดามีอัลกุอ่านฉบับอื่นแล้ว พวกเขาคงจะแสดงมันออกมาให้เห็นแล้ว และจะต้องโต้แย้งกับฉบับที่ได้รับการอนุญาตอย่างเป็นทางการ แต่ปรากฏว่า ในประวัติศาสตร์ อันยาวนานของอิสลามไม่มีการโต้แย้งใดๆเลย ในทางตรงกันข้ามแม้แต่นิกายในอิสลามบางนิกาย เช่น อะห์มะดียะห์ ซึ่งเป็นนิกายร่วมสมัยก็ยังยอมรับตัวบทในคัมภีร์อัลกุรอ่านเหมือนกับนิกายอื่นๆเช่นกัน


หมวดที่ 3 จริงหรือที่คัมภีร์อัลกุรอ่านไม่ได้นำสิ่งใหม่ๆมาด้วย

หมวดที่ 3  จริงหรือที่คัมภีร์อัลกุรอ่านไม่ได้นำสิ่งใหม่ๆมาด้วย

   นอกจากเรื่องราวต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้ว ขอชี้แจงเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

 1แท้จริงคัมภีร์อัลกุรอ่านได้รวบรวมเรื่องราวต่างๆที่ไม่เคยปรากฏในคัมภีร์อื่นๆมาก่อนเลย อัลกุรอ่านได้กล่าวถึงรายละเอียดของนบีซักการียา  การให้กำเนิดบุตรของพระนางมัรยัม(มาเรีย) และการอุปการะเลี้ยงดูพระนางมัรยัม โดยอัลกุรอ่านได้เล่าเรื่องราวของพระนางมัรยัมทั้งซูเราะห์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งไม่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับพันธะสัญญาใหม่ ดังนั้นข้อมูลและเรื่องราวเหล่านี้ท่านศาสดามูฮัมหมัด(ซ.ล.)เอามาจากที่ใด

2.ในส่วนที่เกี่ยวกับการอพยพของชาวยิวออกจากอียิปต์ว่าธิดาของฟาโรห์เป็นผู้พบและรับนบีมูซา(โมเสส) เป็นบุตรบุญธรรมในขณะที่อัลกุรอ่านยืนยันว่ามเหสีของฟาโรห์เป็นผู้พบและรับมูซาเป็นบุตรบุญธรรม ส่วนคัมีร์ใบเบิลกล่าวว่า ฮารูนเป็นผู้ปั้นรูปวัวทองมาให้ชาวยิวบูชา ขณะที่อัลกุรอ่านว่าพวกซามารีเป็นผู้กระทำความผิดส่วนฮารูนเป็นผู้บริสุทธิ์

3.ถ้าอัลกุรอ่านได้นำข้อความมาจากชาวยิวและชาวคริสต์แล้ว เหตุใดศาสนาอิสลามจึงปฏิเสธพระบิดา พระบุตร พระจิต ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานของศาสนาคริสต์ นอกจากนั้นอิสลามไม่ได้รับคำสั่งสอนเกี่ยวกับการจับอีซา(พระเยซู) ตรึงไม้กางเขน การไถ่บาป และการเชื่อว่าอีซาเป็นบุตรของพระผู้เป็นเจ้า

4.อัลกุรอ่านได้กล่าวว่าบรรดาศาสดาของพระผู้เป็นเจ้าเป็นแบบอย่างทางด้านศิลธรรมของมนุษยชาติ ในขณะที่คัมภีร์ใบเบิลฉบับพันธะสัญญาเก่าระบุว่า ศาสดาบางองค์เป็นผู้กระทำบาป ซึ่งเป็นเรื่องที่ขัดต่อความเข้าใจต่อสถานะของความเป็นศาสดา ในทัศนะของอิสลาม  (โปรดดูเรื่องของศาสดาลูต (Lot) กับธิดาในคัมภีร์ใบเบิลพันธะสัญญาเก่า)


5.การปฏิบัตรศาสนกิจในอิสลามที่ได้ถูกกล่าวใว้ในอัลกุรอ่านนั้น เช่น การละหมาด การถือศิลอด การออกซะกาต  และการทำฮัจย์ ตลอดจนรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการประกอบศาสนกิจ เรื่องต่างๆเหล่านี้ไม่มีกล่าวในศาสนายุคก่อนๆ เช่น การละหมาดห้าเวลาในแต่ละวันตามเวลาที่กำหนดเป็นไปอย่างพิธีการที่เคร่งครัด การถือศิลอดในแต่ละปี ซึ่งต้องงดเว้นการกินการดื่ม และความอยากต่างๆ ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงตะวันตกดิน ซะกาตและวิธีการต่างๆที่จะใช้ช่วยเหลือผู้ยากจน วิธีการบริจาค สิ่งต่างๆเหล่านี้อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์และประเภทของซะกาต ตลอดจนเรื่องการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ การเวียนรอบกะบะห์ การพักที่ทุ่งอาราฟะห์  การเดินสะแอระหว่างภูเขาซอฟาและมัรวะห์ การขว้างเสาหิน  และอื่นๆ ถ้าพิธีการต่างๆเหล่านี้เอามาจากศาสนาอื่น ขอทราบด้วยว่าเป็นศาสนาใด 

หมวดที่ 2 . คัมภีร์อัลกุรอ่าน ลอกเลียนแบบมาจากศาสนาที่มีมาก่อนจริงหรือ ?

หมวดที่ 2 . คัมภีร์อัลกุรอ่าน ลอกเลียนแบบมาจากศาสนาที่มีมาก่อนจริงหรือ ?

         1. ถ้าหากว่าคัมภีร์อัลกุรอานเลียนแบบมาจากคัมภีร์ศาสนาก่อนหน้านี้ บรรดาผู้ที่มีชีวิตร่วมสมัยกับท่านและบรรดาผู้ที่ต่อต้านจะนิ่งเฉยอยู่ได้อย่างไร พวกเขาเหล่านั้นจะต้องกล่าวหาศาสดาอย่างแน่นอน แต่ปรากฏว่าพวกเขากลับนิ่งเฉย เนื่องจากข้อกล่าวหาไม่มีมูลความจริงและขาดซึ่งหลักฐาน มาลบล้าง  เกี่ยวกับเรื่องนี้คัมภีร์อัลกุรอ่านเองได้มีการกล่าวถึงข้ออ้างดังกล่าวด้วย ดังที่ข้าพเจ้าได้เคยกล่าวมาครั้งหนึ่งแล้วในการตอบโต้ข้อสงสัยก่อนๆ



          2.คัมภีร์อัลกุรอานได้ประมวลบทกฏหาย บทบัญญัติ กฏเกณฑ์ คำสั่งและคำชี้แจง ซึ่งไม่เคยมีปรากฏในคัมภีร์ของศาสนาใดๆ ก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นคัมภีร์อัลกุรอานยังได้รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประชาชาติยุคก่อน ตลอดจนเรื่องราวเร้นลับ ซึ่งปรากฏขึ้นจริงตามที่แจ้งไว้ในอัลกุรอาน เช่น จุดจบข้อพิพาทระหว่างโรมันกับเปอร์เซีย เหตุการณ์นี้ศาสดาและเหล่าสาวก ตลอดจนบรรดาชาวคัมภีร์ต่างๆ ก็ไม่เคยล่วงรู้มาก่อนเลย

          3.แท้จริงอัลกุรอานส่งเสริมให้ศึกษาหาความรู้ ให้เกียรติผู้ที่ใช้สติปัญญา สืบเนื่องจากคำสั่งสอนของศาสนาอิสลามชาวมุสลิมจึงสามารถสร้างอารยธรรมขึ้นมาและทดแทนอารยธรรมก่อนๆ และดำรงอยู่หลายศตวรรษ หากอัลกุรอานได้ลอกแบบตามคัมภีร์อื่นแล้วไซร้ เหตุใดจึงไม่มีคำสั่งสอนและบทบาทเช่นเดียวกับศาสนาอิสลามเล่า

          4.คัมภีร์อัลกุรอาน เป็นคัมภีร์ที่มีเนื้อหาและสำนวนโวหารที่เป็นเลิศ หากว่าอัลกุรอานเลียนแบบคัมภีร์อื่นแล้วละก็ จะต้องมีข้อความที่ขัดแย้ง ขาดความชัดเจนเพราะจะมีแหล่งกำเนิดจากหลากหลายแห่งด้วยกัน นอกจากนั้นอัลกุรอานได้กล่าวถึงการใช้เหตุผลของมนุษย์อยู่เสมอ แท้จริงอัลกุรอานได้ตั้งอยูบนหลักฐานของข้อพิสูจณ์ที่เด่นชัด นอกจากนี้ยังได้เชิญชวนผู้ที่ไม่เห็นด้วย ดังปรากฏในซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 111 ความว่า

"จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า พวกท่านจงนำหลักฐานของพวกท่านมาหากพวกท่านเป็นผู้ที่พูดจริง"



และซูเราะฮ์ อันนัมล์ โองการที่ 64 ความว่า


"จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) จงนำหลักฐานของพวกท่านมาหากพวกท่านเป็นผู้สัจจริง"



          5. ส่วนวัฒนธรรมก่อนอิสลามนั้น ซึ่งมีการกล่าวอ้างว่า คัมภีร์อัลกุรอ่าน ได้เอามาด้วย มีหลักฐานที่ชัดแจ้งว่า อิสลามได้ปฏิเสธหลักการต่างๆ ก่อนอิสลาม ขนบธรรมเนียมที่ป่าเถื่อนและแบบอย่างที่ได้ยกเลิกไปแล้ว โดยได้นำหลักฐานที่ถูกต้องแทนที่ความชั่วร้ายดังกล่าว ด้วยหลักเกณฑ์ ขนบธรรมเนียมและแบบอย่างที่ดีงาม และเป็นที่ประจักชัดว่า ศาสนาอิสลามได้ปฏิเสธความเชื่อถือในยุคก่อนกำเนิดของศาสนาอิสลาม