การยึดครองดินแดนโดยอิสลาม ความจริงกี่ยวกับสงครามจีฮัด และประเด็นเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรง
1. อิสลามเผยแพร่ด้วยคมหอกคมดาบจริงหรือ
1. หลักเกณฑ์พื้นฐานที่กำหนดในคัมภีร์
อัล กุรอาน ก็คือสิทธิเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา ดังปรากฏ ใน อัลกุรอาน
ซูเราะห์ อัลบากอเราะห์ โองการที่ 259 ความว่า “ไม่มีการบังคับใดๆ
(ให้นับถือ) ในศาสนาอิสลาม”
ศาสนาอิสลามได้เน้นการนับถือศาสนาว่าเป็นเรื่องของเสรีภาพของมนุษย์ที่มีความศรัทธาอย่างไรนั้น
เรื่องนี้มีปรากฏ ใน อัลกุรอาน ซูเราะห์ อัลกะห์ฟี โองการที่ 29 ความว่า “สัจธรรมนั้นมาจากพระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้า
ดังนั้นผู้ใดประสงค์ก็จงศรัทธา และผู้ใดปฏิเสธก็จงปฏิเสธ”
อัล กุรอานได้กล่าวว่า
พระศาสดาทรงเป็นศาสนทูต มีภารกิจที่จะเผยแพร่ข่าวสาร ของพระผู้เป็นเจ้า
แต่มิได้รับมอบหมายให้บังคับมนุษย์ให้นับถือศาสนาอิสลาม ดังที่ปรากฏ ใน อัลกุรอาน
ซูเราะห์ ยูนุส
โองการที่ 99 ว่า”เจ้าจะบังคับมวลชนจนกว่าพวกเขาจะเป็นผู้ศรัทธากระนั้นหรือ”
และใน ซูเราะห์
อัลฟาชียะห์ โองการที่ 22 ว่า “เจ้ามิใช่ผู้มีอำนาจเหนือพวกเขา”
และในซูเราะห์ อัลชูรอ
โองการที่ 48 ความว่า “แต่ถ้าพวกเจ้าผินหลังให้(ไม่ยอมรับการเรียกร้อง)
ดังนั้น เรามิได้ส่งเจ้ามายังพวกเขา เพื่อเป็นผู้คุ้มกันรักษา”
โดยโองการดังกล่าวเหล่านั้น
ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าอัลกุรอาน ไม่มีการบังคับให้มีการนับถือศาสนาอิสลาม
2. อิสลามได้กำหนดแนวทางและวิธีการต่างๆ
ที่ชาวมุสลิมจะต้องปฏิบัติตาม หากประสงค์ที่จะเผยแพร่ศาสนาอิสลาม วิธีการดังกล่าวนี้มีปรากฏในอัลกุรอาน
ซึ่งบัญญัติให้การเผยแพร่ศาสนาอิสลามนั้นเต็มไปด้วยความเฉลียวฉลาด
และการเทศน์ที่น่ารับฟัง ดังปรากฏ ใน อัลกุรอาน ซูเราะห์ อัลนะห์ โองการที่ 125 ความว่า “จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม
และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า” ใน ซูเราะห์ อัลบากอเราะห์ โองการที่ 83 ความว่า “และจงพูดจาแก่เพื่อนมนุษย์อย่างดี”
อัลกุรอานมีวรรคตอน(อายะห์) ไม่น้อยกว่า120วรรคตอนที่ได้เน้นถึงบทพื้นฐานสำหรับชาวมุสลิมที่จะชักจูงผู้คนให้นับถือศาสนาอิสลาม
โดยการชักชวนอย่างนุ่มนวลและสุขุม และปล่อยให้ผู้ที่ถูกชักชวนตัดสินเองว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธ
หลังจากที่ศาสดาทรงยึดครองนครมักกะห์ได้แล้ว
พระองค์ได้กล่าวกับชาวเมืองมักกะห์ว่า “ท่านมีเสรีภาพแล้ว” และพระองค์ก็ไม่ได้บังคับให้พวกเขารับอิสลาม
3. ชาวมุสลิมไม่เคยบังคับให้ผู้ที่นับถือศาสนายิวหรือ
หรือคริสต์ยอมรับนับถือในศาสนาอิสลาม เดี่ยวกับเรื่องนี้ท่าน อุมัรบิน คอตตอบ
ผู้ซึ่งเป็นคอลีฟะห์คนที่สอง
ได้ให้หลักประกันแก่ชาวคริสต์ในนครเยรูซาเล็มที่จะใช้ชีวิตของตนเองได้อย่างมั่นคง
โดยมีศาสนสถานไม้กางเขน และจะไม่คุกคามสิทธิใดๆทางศาสนาแก่พวกเขา
ภายหลังจากที่ท่านศาสดาได้อพยพไปยังนครมะดีนะห์แล้ว
ทรงบัญญัติธรรมนูญการปกครองฉบับแรกว่า
ชาวยิวเป็นชาติที่อยู่ร่วมกับชาวมุสลิมในประชาคมเดียวกัน
โดยพระองค์ให้สิทธิแก่ชาวยิวที่จะปฏิบัติศาสนกิจของตนได้อย่างอิสระ
4. ในหนังสือเรื่อง “Allah
ist ganz anders” (อัลเลาะห์ทรงเป็นอย่างอื่นโดยสิ้นเชิง) นาง Sigrid
Hunke นักบูรภาคดีชาวเยอรมัน ได้ปฏิเสธว่าอิสลามได้เผยแพร่ด้วยคมหอกคมดาบ
และได้เขียนบทความไว้ว่า “การมีขันติธรรมของชาวอาหรับมีบทบาทสำคัญต่อการเผยแพร่ของศาสนาอิสลาม
”
ซึ่งเป็นเรื่องที่ขัดต่อข้อกล่าวหาว่า ศาสนาอิสลามได้เผยแพร่ด้วยไฟและคมดาบ ในข้อความอีกตอนหนึ่งของหนังสือดังกล่าว
นางได้เขียนว่าชาวคริสต์และชาวยิว ได้เปลี่ยนศาสนาของตนเองด้วยความสมัครใจ
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า กองทหารมุสลิมไม่เคยบุกรุก และยึดครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หรือ แอฟริกาตะวันตก แต่ศาสนาอิสลามได้
ขยายและงอกงามอยู่ในประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเหล่านั้น
หลังจากพ่อค้าชาวมุสลิมได้เดินทางไปค้าขาย
พวกซูฟีมุสลิมผู้มีใจใฝ่สันติได้สร้างความประทับใจ ให้แก่พลเมืองในประเทศดังกล่าว
โดยประชาชนของประเทศที่อยู่ห่างไกลเหล่านั้น ได้สังเกตเห็นการกระทำ
ความมีศิลธรรมตลอดจน พฤติกรรมของชาวมุสลิม จึงค่อยๆยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม
Credit. ศาสตราจารย์ ด.ร.
มะห์มูด ฮัมดี ซักซูก
การยึดครองดินแดนโดยอิสลาม ความจริงกี่ยวกับสงครามจีฮัด และประเด็นเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรง
1. อิสลามเผยแพร่ด้วยคมหอกคมดาบจริงหรือ
1. หลักเกณฑ์พื้นฐานที่กำหนดในคัมภีร์
อัล กุรอาน ก็คือสิทธิเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา ดังปรากฏ ใน อัลกุรอาน
ซูเราะห์ อัลบากอเราะห์ โองการที่ 259 ความว่า “ไม่มีการบังคับใดๆ
(ให้นับถือ) ในศาสนาอิสลาม”
ศาสนาอิสลามได้เน้นการนับถือศาสนาว่าเป็นเรื่องของเสรีภาพของมนุษย์ที่มีความศรัทธาอย่างไรนั้น
เรื่องนี้มีปรากฏ ใน อัลกุรอาน ซูเราะห์ อัลกะห์ฟี โองการที่ 29 ความว่า “สัจธรรมนั้นมาจากพระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้า
ดังนั้นผู้ใดประสงค์ก็จงศรัทธา และผู้ใดปฏิเสธก็จงปฏิเสธ”
อัล กุรอานได้กล่าวว่า
พระศาสดาทรงเป็นศาสนทูต มีภารกิจที่จะเผยแพร่ข่าวสาร ของพระผู้เป็นเจ้า
แต่มิได้รับมอบหมายให้บังคับมนุษย์ให้นับถือศาสนาอิสลาม ดังที่ปรากฏ ใน อัลกุรอาน
ซูเราะห์ ยูนุส
โองการที่ 99 ว่า”เจ้าจะบังคับมวลชนจนกว่าพวกเขาจะเป็นผู้ศรัทธากระนั้นหรือ”
และใน ซูเราะห์
อัลฟาชียะห์ โองการที่ 22 ว่า “เจ้ามิใช่ผู้มีอำนาจเหนือพวกเขา”
และในซูเราะห์ อัลชูรอ
โองการที่ 48 ความว่า “แต่ถ้าพวกเจ้าผินหลังให้(ไม่ยอมรับการเรียกร้อง)
ดังนั้น เรามิได้ส่งเจ้ามายังพวกเขา เพื่อเป็นผู้คุ้มกันรักษา”
โดยโองการดังกล่าวเหล่านั้น
ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าอัลกุรอาน ไม่มีการบังคับให้มีการนับถือศาสนาอิสลาม
2. อิสลามได้กำหนดแนวทางและวิธีการต่างๆ
ที่ชาวมุสลิมจะต้องปฏิบัติตาม หากประสงค์ที่จะเผยแพร่ศาสนาอิสลาม วิธีการดังกล่าวนี้มีปรากฏในอัลกุรอาน
ซึ่งบัญญัติให้การเผยแพร่ศาสนาอิสลามนั้นเต็มไปด้วยความเฉลียวฉลาด
และการเทศน์ที่น่ารับฟัง ดังปรากฏ ใน อัลกุรอาน ซูเราะห์ อัลนะห์ โองการที่ 125 ความว่า “จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม
และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า” ใน ซูเราะห์ อัลบากอเราะห์ โองการที่ 83 ความว่า “และจงพูดจาแก่เพื่อนมนุษย์อย่างดี”
อัลกุรอานมีวรรคตอน(อายะห์) ไม่น้อยกว่า120วรรคตอนที่ได้เน้นถึงบทพื้นฐานสำหรับชาวมุสลิมที่จะชักจูงผู้คนให้นับถือศาสนาอิสลาม
โดยการชักชวนอย่างนุ่มนวลและสุขุม และปล่อยให้ผู้ที่ถูกชักชวนตัดสินเองว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธ
หลังจากที่ศาสดาทรงยึดครองนครมักกะห์ได้แล้ว
พระองค์ได้กล่าวกับชาวเมืองมักกะห์ว่า “ท่านมีเสรีภาพแล้ว” และพระองค์ก็ไม่ได้บังคับให้พวกเขารับอิสลาม
3. ชาวมุสลิมไม่เคยบังคับให้ผู้ที่นับถือศาสนายิวหรือ
หรือคริสต์ยอมรับนับถือในศาสนาอิสลาม เดี่ยวกับเรื่องนี้ท่าน อุมัรบิน คอตตอบ
ผู้ซึ่งเป็นคอลีฟะห์คนที่สอง
ได้ให้หลักประกันแก่ชาวคริสต์ในนครเยรูซาเล็มที่จะใช้ชีวิตของตนเองได้อย่างมั่นคง
โดยมีศาสนสถานไม้กางเขน และจะไม่คุกคามสิทธิใดๆทางศาสนาแก่พวกเขา
ภายหลังจากที่ท่านศาสดาได้อพยพไปยังนครมะดีนะห์แล้ว
ทรงบัญญัติธรรมนูญการปกครองฉบับแรกว่า
ชาวยิวเป็นชาติที่อยู่ร่วมกับชาวมุสลิมในประชาคมเดียวกัน
โดยพระองค์ให้สิทธิแก่ชาวยิวที่จะปฏิบัติศาสนกิจของตนได้อย่างอิสระ
4. ในหนังสือเรื่อง “Allah
ist ganz anders” (อัลเลาะห์ทรงเป็นอย่างอื่นโดยสิ้นเชิง) นาง Sigrid
Hunke นักบูรภาคดีชาวเยอรมัน ได้ปฏิเสธว่าอิสลามได้เผยแพร่ด้วยคมหอกคมดาบ
และได้เขียนบทความไว้ว่า “การมีขันติธรรมของชาวอาหรับมีบทบาทสำคัญต่อการเผยแพร่ของศาสนาอิสลาม
”
ซึ่งเป็นเรื่องที่ขัดต่อข้อกล่าวหาว่า ศาสนาอิสลามได้เผยแพร่ด้วยไฟและคมดาบ ในข้อความอีกตอนหนึ่งของหนังสือดังกล่าว
นางได้เขียนว่าชาวคริสต์และชาวยิว ได้เปลี่ยนศาสนาของตนเองด้วยความสมัครใจ
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า กองทหารมุสลิมไม่เคยบุกรุก และยึดครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หรือ แอฟริกาตะวันตก แต่ศาสนาอิสลามได้
ขยายและงอกงามอยู่ในประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเหล่านั้น
หลังจากพ่อค้าชาวมุสลิมได้เดินทางไปค้าขาย
พวกซูฟีมุสลิมผู้มีใจใฝ่สันติได้สร้างความประทับใจ ให้แก่พลเมืองในประเทศดังกล่าว
โดยประชาชนของประเทศที่อยู่ห่างไกลเหล่านั้น ได้สังเกตเห็นการกระทำ
ความมีศิลธรรมตลอดจน พฤติกรรมของชาวมุสลิม จึงค่อยๆยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม
Credit. ศาสตราจารย์ ด.ร.
มะห์มูด ฮัมดี ซักซูก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น