วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

หมวดที่ 1 ศาสดามุฮัมหมัด(ซ.ล.) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาเพื่อเผยแพร่อิสลามให้ชาวอาหรับหรือมนุษยชาติทั้งมวล

หมวดที่ 1 ศาสดามุฮัมหมัด(ซ.ล.)  ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาเพื่อเผยแพร่อิสลามให้ชาวอาหรับหรือมนุษยชาติทั้งมวล

      1.นับตั้งแต่ศาสดามุฮัมหมัด(ซ.ล.) ทรงประกาศศาสนาอิสลามให้แก่มนุษยชาติในครั้งแรกนั้น พระองค์ทรงตรัสว่า แท้จริงฉันเป็นศาสนาทูตของอัลเลาะห์ ที่ถูกส่งมายังพวกท่าน และเพื่อมวลมนุษยชาติทั้งมวลซึ่งหมายความว่าพระองค์เป็นผู้นำศาสนาเพื่อมนุษยชาติทั้งมวล และมิได้กล่าวอ้างว่า อิสลามเป็นศาสนาของชาวอาหรับเพียงอย่างเดียวแต่เป็นศาสนาเพื่อมวลมนุษยชาติทั้งหมด และพระองค์ยังทรงตรัสเน้นเสริมอีกว่าศาสดาองค์ก่อนๆถูกส่งมาเพื่อกลุ่มชนของเขาเท่านั้น แต่ฉันถูกส่งลงมาเพื่อประชาชาติทั้งมวล

      2.ผู้ใดก็ตามที่อ่านคัมภีร์อัลกุรอ่าน ด้วยความเข้าใจแล้ว พบว่าอัลกุรอ่านได้เชิญชวนและเรียกร้องให้มนุษย์ทุกคนไปสู่ศาสนาของอัลเลาะห์  คุณลักษณะดังกล่าวนี้เป็นเรื่องชัดแจ้งเสมือนแสงสว่าง ที่ปรากฏอยู่ในโองการต่างๆ ซึ่งถูกประทานลงมา ณ นครมักกะห์ ก่อนที่ท่านศาสดาจะอพยพ ดังปรากฏหลักฐานในอัลกุรอ่าน ซูเราะห์ อัลอันบียา โองการที่ 107 ความว่า และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด นอกจากเพื่อความเมตตาต่อประชาชาติทั้งหลาย”  และในซุเราะห์อัลฟาติฮะห์ ซึ่งเป็นซูเราะห์แรกในอัลกุรอ่านความว่าการสรรเสริญทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิแด่อัลเลาะห์ ผู้เป็นพระเจ้าของสากลโลก

      3. จากข้อเท็จจริงที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าท่านศาสดาไม่ได้เปลี่ยนแปลงแผนการของพระองค์เลย หากแต่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามศาสนาและบทบัญญัติของอิสลาม โดยเรียกร้องตามขั้นตอน ซึ่งวิวัฒนาการดังกล่าวนั้นถือเป็นเรื่องธรรดา เนื่องจากว่าเป็นการยากยิ่งสำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ศาสนคติ นิสัย และประเพณีที่ฝังลึกยากต่อการยกเลิก ในเริ่มแรกของการก่อตั้งอิสลาม ได้มีการปลูกฝักหลักการแห่งการศรัทธาในดวงจิตและจิตใจของมนุษย์ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นรากฐานของบัญญัติที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงวิธีชีวิตคน อิสลามได้ใช้วิธีการแบบนี้ ซึ่งค่อยๆ นำไปสู่การห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ห้ามขูดรีด ด้วยการเก็บดอกเบี้ย การยกเลิกทาส ในช่วงระยะเวลาการเผยแพร่ในนครมักกะห์นั้น ได้เน้นเกี่ยวกับหลักการศรัทธาเป็นหลักใหญ่ ส่วนในช่วงนครมะดีนะห์ ได้เริ่มมีการบัญญัติรายละเอียดตามศาสนากำหนดต่อไป


หมวดที่ 4. หะดีษต่างๆของท่านนบีมีความขัดแย้งกันหรือไม่

หมวดที่ 4. หะดีษต่างๆของท่านนบีมีความขัดแย้งกันหรือไม่

ด้วยปรากฏว่า มีการอ้างหะดีษต่างๆที่ขัดแย้งกัน จึงขออธิบายดังต่อไปนี้

      1.คัมภีร์ อัลกุรอ่าน ได้เรียกร้องให้มุสลิมเชื่อฟังท่านศาสดา เกี่ยวกับเรื่องนี้ อัลกุรอ่านได้ระบุไว้ในซูเราะห์ อัลหัชด โองการที่ 7 ความว่า และอันใดที่ท่านรอซูลได้นำมายังพวกเจ้า ก็จงยึดเอาไว้ และอันใดที่ได้ห้ามพวกเจ้า ก็จงละเว้นเสีย
และในซูเราะห์อันนิซาโองการที่80 ความว่า  ผู้ใดเชื่อฟังท่านรอซูล แน่นอนเขาก็เชื่อฟังอัลเลาะห์แล้ว”  บทหะดีษต่างๆ จะมีข้อความที่ท่านศาสดาทรงอนุญาตหรือห้ามไม่ให้เรากระทำ ด้วยเหตุนี้ หะดีษจึงเป็นส่วนสำคัญของศาสนาอิสลาม และหากไม่มีการปฏิบัติตามก็เท่ากับเป็นการดำเนินการที่ขัดต่ออัลกุรอ่าน

      2. ภายหลังจากที่นักวิชาการมุสลิมได้ศึกษามาเป็นระยะเวลาหลายศตวรรษแล้ว เกี่ยวกับการจำแนกหะดีษที่แท้จริง ออกจากหะดีษที่ไม่จริง ดังที่เราเคยกล่าวมาแล้ว ในบทก่อนหน้านี้ แต่อย่างไรก็ดี จะมีการละเลยไม่ปฏิบัติตามหะดีษไม่ได้ เนื่องจากหะดีษนั้น เป็นบ่อเกิดที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองในศาสนาอิสลาม จึงจำเป็นที่จะต้องปฎิบัติตามคำสอนของหะดีษ โดยตระหนักถึงการค้นคว้าทางอิสลามว่า มีการจำแนกหะดีษที่แท้จริงออกจากหะดีษที่มีความขัดแย้งกันแล้ว


      3.หะดีษของท่านศาสดา เป็นการขยายความในคัมภีร์อัลกุรอ่าน เช่นชาวมุสลิมจะต้องละหมาดทุกวันตามพิธีการที่ปรากฏในรายละเอียดตามหะดีษ แต่ทว่าพิธีการดังกล่าวนั้นไม่ได้ระบุในอัลกุรอ่าน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเรื่องที่สามารถอธิบายได้ด้วยตัวบทหะดีษ

      4. คัมภีร์อันศักดิสิทธิ์ในศาสนาที่มีการนับถือพระผู้เป็นเจ้าก่อนอิสลามได้จารึกไว้ในลักษณะเช่นเดียวกับการบัญญัติหะดีษ ทั้งนี้ไม่มีผู้ศรัทธาในศาสนาดังกล่าว คือศาสนายิว และคริสต์ ถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนาของตน เนื่องจากมีข้อขัดแย้งหรือยังขาดการตรวจสอบ ดังนั้น ในกรณีเช่นนี้ ควรจะมีการตรวจสอบประเพณีในศาสนาดังกล่าว ถูกต้องหรือไม่ประการใด ซึ่งในกรณีของศาสนาอิสลามนั้น นักวิชาการได้ดำเนินการมาแล้ว ตั้งแต่หลายศตวรรษก่อนหน้านี้

หมวดที่ 3 หะดีษต่างๆของท่านศาสดา เป็นสิ่งที่ถูกต้องและเที่ยงแท้หรือไม่

หมวดที่ 3 หะดีษต่างๆของท่านศาสดา เป็นสิ่งที่ถูกต้องและเที่ยงแท้หรือไม่

   ด้วยปรากฏว่ามีนักบูรพาคดีชาวตะวันตก ชื่อ goldzieher ยังคงสงสัยเกี่ยวกับหะดีษของท่านศาสดามุฮัมหมัด(ซ.ล.)  ว่าอาจจะไม่เป็นเรื่องที่ถูกต้องแท้จริง โดยเห็นว่าหะดีษดังกล่าว เป็นเพียงสิ่งซึ่งชาวมุสลิมได้คิดค้นขึ้นมาเองในสมัยแรกเริ่มอิสลาม และต่อไปนี้ คือการตอบโต้ข้อเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ

      1. หะดีษ หรือ สุนนะห์ เป็นบ่อเกิดของอิสลามที่มีความสำคัญอันดับสองรองลงมาจากคัมภีร์อัลกุรอ่าน ทั้งนี้ เนื่องจากท่านศาสดา ทรงได้รับบัญชาในอัลกุรอ่าน ให้เผยแพร่สิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าประทาน ดลใจมาให้แก่มนุษย์ทั้งปวง และในขณะเดียวกัน ก็ได้บัญชาให้ท่านศาสดาขยายความ และอรรถาธิบายอัลกุรอ่าน  ดังปรากฏในอัลกุรอ่าน ซูเราะห์ อัลมาอีดะห์ โองการที่ 67 ความว่า โอ้รอซูลเอ๋ย จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้า จากพระเจ้าของเจ้า และถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ เจ้าก็มิได้ประกาศสาสน์ของพระองค์ และอัลเลาะห์นั้นจะทรงคุ้มกันเจ้าให้พ้นจากมนุษย์ แท้จริงอัลเลาะห์นั้น  ไม่ทรงแนะนำพวกที่ปฏิเสธศรัทธา  ” 

   และในซูเราะห์อัลนะห์ โองการที่  44 ความว่า  “ ด้วยหลักฐานทั้งหลายที่ชัดแจ้ง และคัมภีร์ต่างๆที่ศักดิ์สิทธิ์ และเราได้ให้อัลกุรอ่านแก่เจ้า เพื่อเจ้าจะได้ชี้แจง (ให้กระจ่าง) แก่มนุษย์ ซึ่งสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาแก่พวกเขา และเพื่อที่พวกเขาจะได้ไตร่ตรอง  ”  

    และในโองการที่ 64 ความว่า และเรามิได้ให้คัมภีร์นี้ลงมาแก่เจ้า เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อให้เจ้าชี้แจงให้แจ่มแจ้งแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขาขัดแย้งกัน และเพื่อเป็นการชี้แนวทางและเป็นเมตตาแก่หมู่ชนผู้ศรัทธา” 

       และการอรรถาธิบายอัลกุรอ่านดังกล่าว ก็คือหะดีษ และแนวทางปฏิบัติของท่านศาสดา ซึ่งรวมถึงคำพูด พฤติกรรม และ การยอมรับของท่าน โดยที่ท่านศาสดาเอง ได้ชี้แจงถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามหะดีษของท่าน ซึ่งปรากฏอยู่ในสุนทรพจน์อำลาครั้งสุดท้าย ก่อนที่พระองค์จะทรงสิ้นพระชนว่า ข้าพเจ้าได้ทิ้งสองอย่างไว้กับพวกท่าน และหากพวกท่านยึดถือและปฏิบัติตามทั้งสองอย่างนี้แล้ว พวกท่านไม่มีวันหลงทาง นั่นก็คือ อัลกุรอ่าน และแนวทาง(หะดีษ) ของฉัน

      2. ถึงแม้จะมีการยอมรับกันว่า มีหะดีษ หลายเรื่อง ที่มิใช่เป็นของท่านศาสดาก็ตาม แต่ทว่า นักวิชาการอิสลาม ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้เสมอ โดยนักวิชาการเหล่านั้น ได้ตรวจสอบความถูกต้องของหะดีษต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ คัมภีร์อัลกุรอ่านได้วางหลักเกณฑ์สำหรับการวินิจฉัยดังปรากฏหลักฐานในอัลกุรอ่าน  ซูเราะห์อัลหุจญรอจน์ โองการที่

       ความว่า โอ้ศรัทธาชนทั้งหลายหากคนชั่วนำข่าวใดๆมาแจ้งแก่พวกเจ้า พวกเจ้าก็จงสอบสวนให้แน่ชัดในการพิจรณาถึงความถูกต้องของหะดีษนี้นั้นต้องคำนึงถึงบุคลิก อุปนิสัย ตลอดจนความประพฤติทางศิลธรรมของทุกคน ที่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรายงานหะดีษของท่านศาสดา และวิธีการดังกล่าวนี้ ได้ถูกนำมาใช้สำหรับพัฒนาการของการค้นคว้าทางด้านประวัติศาสตร์

      3.สืบเนื่องจากความสำคัญของหะดีษ ที่มีต่อศาสนาอิสลาม บรรดานักวิชาการจึงได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาหะดีษให้มีความถูกต้อง โดยจำแนกหะดีษที่แท้จริง ออกจากหะดีษปลอมเป็นส่วนๆไป จากนั้น จึงได้ก่อตั้งสาขาวิชาขึ้นใหม่เพื่อศึกษาวิชาฮะดีษเป็นการเฉพาะ โดยสาขาวิชาดังกล่าวนั้น คือวิชาที่ว่าด้วยคุณลักษณะของผู้รายงาน วิชาที่ว่าด้วยการสืบสายหะดีษ ในการนี้ท่านศาสดา ทรงกล่าวเตือนผู้ซึ่งกล่าวข้อความที่เป็นเท็จ มีการกระทำที่ไม่ดีต่อตนว่า ผู้ใดที่ตั้งใจจะกล่าวเท็จต่อฉัน ก็จงเตรียมหาที่พักพิงในนรก

       4.ในบรรดานักวิชาการทั้งหลายที่ได้อุทิศค้นคว้าหะดีษที่แท้จริงของท่านศาสดานั้น คือ ท่านอีหม่ามอัลบุคอรี(มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 810-870) เป็นผู้ที่ได้รวบรวมหะดีษไว้มากกว่าครึ่งล้านเรื่อง แต่หลังจากที่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดและในเชิงวิชาการแล้ว คงเหลือเก้าพันเรื่องที่ถือว่าเป็นหะดีษที่แท้จริง

   อย่างไรก็ตามในจำนวนเก้าพันหะดีษนั้น มีหลายเรื่องที่มีข้อความซ้ำซ้อนกัน จึงตัดให้เหลือประมาณ 3000 หะดีษ

5.ผลจากความพยายามอย่างที่สุดของนักวิชาการหะดีษ  ที่ทุ่มเท ค้นคว้า การตรวจสอบ ความถูกต้องที่แท้จริงของฮะดีษ และแป็นที่ยอมรับเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีหนังสือเพียงหกเล่มที่ได้รวบรวมหะดีษ โดยตรงคือ ซอเฮียะห์ อัลบุคอรี ซอเฮียะห์ มุสลิม ซุนันนาซาอี ซุนันอาบีดาวุด ซุนันอัรตัรมีซี และซุนันอิบนิมายะ นอกจากนั้นยังมีเอกสารทางวิชาการเผยแพร่อีกมากมายของผู้แต่งชาวมุสลิม ที่ได้เขียนเรื่องหะดีษต่างๆที่ถูกปฏิเสธ จึงเป็นเรื่องที่ชัดเจนว่า นักวิชาการมุสลิมหลายคน ได้ให้ความสำคัญกับการรวบรวมหะดีษที่แท้จริงเป็นอย่างมาก และเป็นเรื่องที่ไร้เหตุผลที่ยังมีผู้สงสัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป

หมวดที่ 2 อะไรคือสาเหตุที่ท่านศาสดาแต่งงานกับผู้หญิงหลายคน

หมวดที่ 2 อะไรคือสาเหตุที่ท่านศาสดาแต่งงานกับผู้หญิงหลายคน

      1. เมื่อท่านศาสดามุฮัมหมัด(ซ.ล.)  มีพระชนมายุได้ 25 ปี ได้ทรงสมรสกับพระนางคอดียะห์ ซึ่งเป็นคู่สมรสแรกของพระองค์ โดยพระนางมีอายุมากกว่าพระองค์ 15 ปี และเคยแต่งงานมาแล้ว 2 ครั้งพระองค์ได้ใช้ชีวิตคู่ร่วมกับพระนางเป็นระยะเวลานานถึง 28 ปี จนกระทั่งพระนางได้เสียชีวิต ท่านศาสดาก็ยังระลึกถึงช่วงระยะเวลาดังกล่าว  จนเป็นเหตุให้ภรรยาบางท่านของพระองค์เกิดความรู้สึกอิจฉาในเวลาต่อมา

      2. ชีวิตพระองค์ทั้งก่อนและหลังจากการได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสดา เป็นที่ทราบกันดีว่า พระศาสดาไม่ใช่ผู้ที่หมกมุ่นในเรื่องเพศ ฉะนั้นเป็นไปได้อย่างไรที่คนมีอายุมากกว่า 50 ปีแล้วจะหมกมุ่นในเรื่องดังกล่าวทั้งๆที่พระศาสดาสมัยเป็นหนุ่ม พระองค์มีโอกาสที่จะตักตวงเรื่องนี้ได้เหมือนกับเพื่อนๆ ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน แต่พระองค์ก็มิได้สนองโอกาสนั้น ซึ่งในบรรดาภรรยา ของพระองค์นั้น มีเพียงพระนางอาอีชะห์ ผู้เดียวที่เป็นผู้หญิงพรมจรรย์ ส่วนภรรยาคนอื่นเป็นหม้ายมาก่อน การแต่งงานของพระองค์นั้นเป็นการแต่งงานเพื่อมีเป้าหมายด้านมนุษยธรรมหรือด้วยเหตุผลที่จะปฏิบัติตามหลักการทางศาสนา แต่มิใช่เพราะเหตุผลทางด้านความใคร่ 

      3. หลังจากที่พระองค์อยู่ในวัยเกิน 50 พรรษา พระองค์ได้สมรสกับพระนางเซาดะห์ ธิดาของซัมอะห์ ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาสาวกที่เป็นหม้าย และเป็นที่ทราบกันดีว่า พระนางเซาเดาะห์ไม่ได้เป็นคนสวย ร่ำรวย และไม่ได้มาจากตระกูลที่สูงส่ง พระองค์ทรงแต่งงานกับพระนางเพื่อให้ความช่วยเหลือและให้การเลี้ยงดูครอบครัวของสาวกของท่านผู้ซึ่งพลีชีพในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า ส่วนการสมรสกับพระนางอาอีชะห์ ซึ่งเป็นธิดาของอบูบักร และพระนางฮับเซาะห์ธิดาของอุมัร  เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับบบุคลทั้งสอง

      4.ในส่วนของพระนางอุมมุซาลามะห์ พระนางหญิงที่เป็นหม้ายที่สูญเสียสามีในสงครามอุฮุด ทั้งๆที่พระนางมีอายุมาก แต่พระองค์ก็ประสงค์ที่จะแต่งงานกับพระนาง ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลทางด้านมนุษยธรรม

     ส่วนพระนางรอมละห์ ธิดาของอบูซุฟยาน ซึ่งอพยพไปยังเอธิโอเปียพร้อมสามีผู้ที่ได้ละทิ้งศาสนาอิสลาม และหันไปนับถือ ศาสนาคริสต์ ได้ละทิ้งพระนางไปโดยไม่ให้การดูแล ท่านศาสดาจึงส่งสารไปยังกษัตริย์นายาชี่ ผู้ครองประเทศเอธิโอเปีย ขอให้กษัตริย์ส่งพระนางรอมละห์กลับ เพื่อมีเจตนาที่จะช่วยเหลือให้พระนางร้อดพ้นจากการถูกประหารชีวิต และพระองค์ทรงหวังว่า การสมรสกับพระนางนั้น จะทำให้บิดาของพระนางซึ่งมีอิทธิพลในนครมักกะห์เข้ารับอิสลาม

    พระองค์สมรสกับพระนางยาวารียะห์ ธิดาของอัลฮารีส  และเป็นหนึ่งในเชลยศึกที่ถูกจับในสมรภูมิ อัลมุสตาลาก เนื่องจากบิดาของพระนางเป็นหัวหน้าเผ่า พระศาสดาจึงให้เกรียติ และปกป้องพระนางจากการเป็นเชลยศึกด้วยการสมรสกับพระนาง และพระองค์ทรงเรียกร้องให้ชาวมุสลิมปลดปล่อยผู้เป็นเชลย และก็ได้รับการตอบสนอง
    พระองค์ได้สมรสกับพระนางซอฟียะห์ ธิดาของหัวหน้าเผ่ายิวแห่งบานูการีเซาะห์ โดยพระองค์เปิดโอกาสให้พระนางเลือกที่จะสมรสกับพระองค์หรือกลับไปยังพวกของตน ซึ่งพระนางตัดสินใจที่จะสมรสกับท่านศาสดา

      5.ท่านศาสดาสมรสกับพระนางซัยนับ ธิดาของยะชิน และมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระองค์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสนา โดยก่อนหน้านี้พระนางได้สมรสกับ เซด บินซาบิต บุตรบุญธรรมของท่านศาสดา แต่การสมรสครั้งนั้นไม่ได้ยั่งยืนและมีการหย่าร้างในเวลาต่อมา ประเพณีของอาหรับในสมัยนั้นได้ห้ามไม่ให้ผู้ชายแต่งงานกับผู้หญิงที่ได้หย่าร้างกับบุตรบุญธรรมของตนเอง แต่ทั้งนี้ท่านศาสดาได้รับวฮีจากพระผู้เป็นเจ้าเพื่อยกเลิกข้อกล่าวหาดังกล่าว ดังปรากฏใน อัลกุรอ่าน ซูเราะห์อัลอะซาบ ความว่า และเมื่อเซดได้หย่าร้างกับนางแล้ว เราได้ให้เจ้าแต่งงานกับนาง เพื่อที่จะได้ไม่เป็นที่ลำบากใจแก่บรรดาผู้ศรัทธาชายในเรื่อง (การสมรสกับ ) ภริยาของบุตรบุญธรรมของพวกเขา เมื่อพวกเขาหย่าร้างกับพวกนางแล้ว และพระบัญชาของอัลเลาะห์นั้น จะต้องบรรลุผลเสมอ


หมวดที่ 4. การรวบรวมอัลกุรอ่าน มีการละทิ้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของคัมภีร์อัลกุรอ่านหรือไม่

หมวดที่ 4. การรวบรวมอัลกุรอ่าน มีการละทิ้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของคัมภีร์อัลกุรอ่านหรือไม่

        1.ท่านศาสดามุฮัมหมัดทรงคัดเลือกบรรดาสาวกและผู้ใกล้ชิดด้วยพระองค์องเอง เพื่อที่จะจดบันทึกข้อความในอัลกุรอ่านเป็นลายลักษณ์อักษร โดยการบอกเล่าวฮีของพระผู้เป็นเจ้า ในการนี้ผู้จดบันทึกได้ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เท่าที่สามารถหาได้ในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสัตว์ ไม้ เศษหิน หรือกระดูก แหล่งข้อมูลของอิสลามที่เชื่อถือได้ระบุว่ามีผู้จดบันทึกวฮีทั้งหมด 29 คน รวมทั้งท่านคอลีฟะห์ทั้งสี่ อบูบักร์ อุมัร อุสมาน และ อาลี นอกจากนี้ยังมีมุอาวียะห์ ซุเบร อิบนิลเอาวาม ซะอี๊ด บินอาส  อัมร์บินอาส   อาลีบินกะ และเซตบินซาบิต

       2. นอกจากมีการบันทึกวฮีแล้ว ยังมีการท่องจำอัลกุรอ่าน การอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่าน ซึ่งประเพณีนี้ยังคงมีตราบเท่าทุกวันนี้ ในสมัยที่ท่านศาสดายังมีชีวิตอยู่ ได้มีบรรดาสาวกของพระองค์หลายร้อยคนที่ได้ท่องจำคัมภีร์อัลกุรอ่านอย่างขึ้นใจ และท่านศาสดาได้ตรัสว่าในช่วงเดือนรอมาดอนของทุกปีพระองค์ได้ทรงทบทวนอัลกุรอ่านต่อหน้าเทวทูตญิบรีล (กาเบรียล) ในเดือนรอมาดอนสุดท้ายก่อนที่ท่านจะสวรรคตนั้นท่านญิบรีลได้ทบทวน อัลกุรอ่านทั้งหมด 2 ครั้ง ด้วยเหตุนี้ ได้มีการจดบันทึกเป็นครั้งสุดท้ายในช่วงปลายอายุของท่านศาสดา ในการจดบันทึกดังกล่าวได้ปฏิบัติตามบัญชาของท่านศาสดา โดยทุกโองการอยู่ในลำดับตามที่พระองค์ทรงประสงค์

       3. หลังจากที่ท่านศาสดาได้สวรรคตได้ 1 ปี บรรดาสาวกผู้ที่ท่องจำอัลกุรอ่านอย่างชึ้นใจ ได้เสียชีวิตจำนวน 70 คน ในสมรภูมิอัลญ่ามามะห์ กับพวกมูไซละมะห์  อัลกัซซาบ ท่านคอลีฟะห์ อุมัร อิบนิคอตตอบ ได้เสนอให้เซด บิน ซาบิต ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาสาวกที่ได้จดบันทึกวฮีให้ทำการรวบรวมอัลกุรอ่านที่ได้จดบันทึกไว้ตามที่ต่างๆ โดยได้จัดทำขึ้นมาใหม่ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการใช้ในโอกาสครั้งต่อไป ในการนี้ได้มีการวางหลักเกณฑ์ในการการรวบรวมอย่างเข้มงวด กล่าวคือจะไม่มีการถือว่าเอกสารเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอ่านหากไม่ได้รับการยืนยันโดยพยานสองคนว่าเป็นข้อความที่ท่านศาสดาทรงบอกเล่าเอง  บรรดาสาวกที่ท่องจำอัลกุรอ่านอย่างขึ้นใจจึงมีบทบาทสำคัญยิ่ง และเมื่อเซตบินซาบิตได้เสร็จสิ้นภารกิจรวบรวมอัลกุรอ่านก็ได้ส่งมอบต้นฉบับให้แก่ท่าน คอลีฟะห์ อบูบักร์ และก่อนที่ท่านอบูบักรจะถึงแก่อสัญกรรมได้ส่งมอบให้แก่คอลีฟะห์อุมัร บินคอตตอบ และก่อนที่ท่านอุมัรจะถึงแก่อสัญกรรมก็ได้ส่งมอบต้นฉบับดังกล่าว ให้แก่พระนางฮับเซาะห์บุตรสาวของตน

       4.ภายใต้การปกครองของท่านอุสมาน บิน อัฟฟาน คอลีฟะห์องค์ที่สาม ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้จดบันทึกสี่ท่านด้วยกันในจำนวนนี้มีเซต บินซาบิต รวมอยู่ด้วย คณะกรรมการดังกล่าวได้คัดลอก อัลกุรอ่านขึ้นมา 5 ฉบับ และได้จัดส่งไปยัง นครมักกะห์ นครมะดีนะห์ นครบัสเราะห์ นครคูฟะห์ และนครดามัสกัส โดยที่คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ยึดถือและทบทวนจากต้นฉบับที่พระนางฮับเซาะห์เก็บรักษาไว้ โดยได้เปรียบเทียบกับกับอัลกุรอ่านที่ได้มีการท่องจำในสมัยที่พระศาสดายังมีชีวิตอยู่ นั่นก็คือ อัลมุศฮัฟ ที่ใช้อยู่ทุกหนแห่งในโลกอิสลาม ซึ่งเป็นแบบฉบับที่ไม่มีการแก้ไขใดๆจนถึงทุกวันนี้ โดยไม่มีมุสลิมคนใดที่โต้แย้งความถูกต้องของอัลกุรอ่านดังกล่าว ตลอดระยะเวลาดังกล่าวตลอดระยะเวลา 1400 ปีที่ผ่านมา

       มีนักบูรพาคดีหลายคนรวมทั้ง Mr. Leblois  และ Mr . Muir และผู้เชี่ยวชาญร่วมสมัยชาวเยอรมัน  Mr. Rudi Paret ได้ยืนยัน ข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยที่ Mr . Rudi Paret  ได้เขียนคำนำที่ตนแปลขึ้นว่า เราไม่มีเหตุผลที่จะต้องสันนิษฐานว่า แม้เพียงโองการเดียวในอัลกุรอ่านทั้งหมดไม่ได้มาจากท่านศาสดามุฮัมหมัด

      สิ่งที่ Mr . Paret  ต้องการที่จะกล่าวก็คือ ภายหลังจากที่ท่านศาสดาได้สวรรคตแล้ว ไม่มีบุคคลใด ได้เปลี่ยนแปลงข้อความที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอ่านเลย และได้มีการพิสูจน์แล้วว่า ไม่มีอัลกุรอ่าน ฉบับอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากอัลกุรอ่านที่ได้จดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในสมัยท่านคอลีฟะห์ อุสมาน บินอัฟฟาน หากปรากฏว่าเหล่าสาวกของท่านศาสดามีอัลกุอ่านฉบับอื่นแล้ว พวกเขาคงจะแสดงมันออกมาให้เห็นแล้ว และจะต้องโต้แย้งกับฉบับที่ได้รับการอนุญาตอย่างเป็นทางการ แต่ปรากฏว่า ในประวัติศาสตร์ อันยาวนานของอิสลามไม่มีการโต้แย้งใดๆเลย ในทางตรงกันข้ามแม้แต่นิกายในอิสลามบางนิกาย เช่น อะห์มะดียะห์ ซึ่งเป็นนิกายร่วมสมัยก็ยังยอมรับตัวบทในคัมภีร์อัลกุรอ่านเหมือนกับนิกายอื่นๆเช่นกัน


หมวดที่ 3 จริงหรือที่คัมภีร์อัลกุรอ่านไม่ได้นำสิ่งใหม่ๆมาด้วย

หมวดที่ 3  จริงหรือที่คัมภีร์อัลกุรอ่านไม่ได้นำสิ่งใหม่ๆมาด้วย

   นอกจากเรื่องราวต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้ว ขอชี้แจงเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

 1แท้จริงคัมภีร์อัลกุรอ่านได้รวบรวมเรื่องราวต่างๆที่ไม่เคยปรากฏในคัมภีร์อื่นๆมาก่อนเลย อัลกุรอ่านได้กล่าวถึงรายละเอียดของนบีซักการียา  การให้กำเนิดบุตรของพระนางมัรยัม(มาเรีย) และการอุปการะเลี้ยงดูพระนางมัรยัม โดยอัลกุรอ่านได้เล่าเรื่องราวของพระนางมัรยัมทั้งซูเราะห์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งไม่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับพันธะสัญญาใหม่ ดังนั้นข้อมูลและเรื่องราวเหล่านี้ท่านศาสดามูฮัมหมัด(ซ.ล.)เอามาจากที่ใด

2.ในส่วนที่เกี่ยวกับการอพยพของชาวยิวออกจากอียิปต์ว่าธิดาของฟาโรห์เป็นผู้พบและรับนบีมูซา(โมเสส) เป็นบุตรบุญธรรมในขณะที่อัลกุรอ่านยืนยันว่ามเหสีของฟาโรห์เป็นผู้พบและรับมูซาเป็นบุตรบุญธรรม ส่วนคัมีร์ใบเบิลกล่าวว่า ฮารูนเป็นผู้ปั้นรูปวัวทองมาให้ชาวยิวบูชา ขณะที่อัลกุรอ่านว่าพวกซามารีเป็นผู้กระทำความผิดส่วนฮารูนเป็นผู้บริสุทธิ์

3.ถ้าอัลกุรอ่านได้นำข้อความมาจากชาวยิวและชาวคริสต์แล้ว เหตุใดศาสนาอิสลามจึงปฏิเสธพระบิดา พระบุตร พระจิต ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานของศาสนาคริสต์ นอกจากนั้นอิสลามไม่ได้รับคำสั่งสอนเกี่ยวกับการจับอีซา(พระเยซู) ตรึงไม้กางเขน การไถ่บาป และการเชื่อว่าอีซาเป็นบุตรของพระผู้เป็นเจ้า

4.อัลกุรอ่านได้กล่าวว่าบรรดาศาสดาของพระผู้เป็นเจ้าเป็นแบบอย่างทางด้านศิลธรรมของมนุษยชาติ ในขณะที่คัมภีร์ใบเบิลฉบับพันธะสัญญาเก่าระบุว่า ศาสดาบางองค์เป็นผู้กระทำบาป ซึ่งเป็นเรื่องที่ขัดต่อความเข้าใจต่อสถานะของความเป็นศาสดา ในทัศนะของอิสลาม  (โปรดดูเรื่องของศาสดาลูต (Lot) กับธิดาในคัมภีร์ใบเบิลพันธะสัญญาเก่า)


5.การปฏิบัตรศาสนกิจในอิสลามที่ได้ถูกกล่าวใว้ในอัลกุรอ่านนั้น เช่น การละหมาด การถือศิลอด การออกซะกาต  และการทำฮัจย์ ตลอดจนรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการประกอบศาสนกิจ เรื่องต่างๆเหล่านี้ไม่มีกล่าวในศาสนายุคก่อนๆ เช่น การละหมาดห้าเวลาในแต่ละวันตามเวลาที่กำหนดเป็นไปอย่างพิธีการที่เคร่งครัด การถือศิลอดในแต่ละปี ซึ่งต้องงดเว้นการกินการดื่ม และความอยากต่างๆ ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงตะวันตกดิน ซะกาตและวิธีการต่างๆที่จะใช้ช่วยเหลือผู้ยากจน วิธีการบริจาค สิ่งต่างๆเหล่านี้อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์และประเภทของซะกาต ตลอดจนเรื่องการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ การเวียนรอบกะบะห์ การพักที่ทุ่งอาราฟะห์  การเดินสะแอระหว่างภูเขาซอฟาและมัรวะห์ การขว้างเสาหิน  และอื่นๆ ถ้าพิธีการต่างๆเหล่านี้เอามาจากศาสนาอื่น ขอทราบด้วยว่าเป็นศาสนาใด 

หมวดที่ 2 . คัมภีร์อัลกุรอ่าน ลอกเลียนแบบมาจากศาสนาที่มีมาก่อนจริงหรือ ?

หมวดที่ 2 . คัมภีร์อัลกุรอ่าน ลอกเลียนแบบมาจากศาสนาที่มีมาก่อนจริงหรือ ?

         1. ถ้าหากว่าคัมภีร์อัลกุรอานเลียนแบบมาจากคัมภีร์ศาสนาก่อนหน้านี้ บรรดาผู้ที่มีชีวิตร่วมสมัยกับท่านและบรรดาผู้ที่ต่อต้านจะนิ่งเฉยอยู่ได้อย่างไร พวกเขาเหล่านั้นจะต้องกล่าวหาศาสดาอย่างแน่นอน แต่ปรากฏว่าพวกเขากลับนิ่งเฉย เนื่องจากข้อกล่าวหาไม่มีมูลความจริงและขาดซึ่งหลักฐาน มาลบล้าง  เกี่ยวกับเรื่องนี้คัมภีร์อัลกุรอ่านเองได้มีการกล่าวถึงข้ออ้างดังกล่าวด้วย ดังที่ข้าพเจ้าได้เคยกล่าวมาครั้งหนึ่งแล้วในการตอบโต้ข้อสงสัยก่อนๆ



          2.คัมภีร์อัลกุรอานได้ประมวลบทกฏหาย บทบัญญัติ กฏเกณฑ์ คำสั่งและคำชี้แจง ซึ่งไม่เคยมีปรากฏในคัมภีร์ของศาสนาใดๆ ก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นคัมภีร์อัลกุรอานยังได้รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประชาชาติยุคก่อน ตลอดจนเรื่องราวเร้นลับ ซึ่งปรากฏขึ้นจริงตามที่แจ้งไว้ในอัลกุรอาน เช่น จุดจบข้อพิพาทระหว่างโรมันกับเปอร์เซีย เหตุการณ์นี้ศาสดาและเหล่าสาวก ตลอดจนบรรดาชาวคัมภีร์ต่างๆ ก็ไม่เคยล่วงรู้มาก่อนเลย

          3.แท้จริงอัลกุรอานส่งเสริมให้ศึกษาหาความรู้ ให้เกียรติผู้ที่ใช้สติปัญญา สืบเนื่องจากคำสั่งสอนของศาสนาอิสลามชาวมุสลิมจึงสามารถสร้างอารยธรรมขึ้นมาและทดแทนอารยธรรมก่อนๆ และดำรงอยู่หลายศตวรรษ หากอัลกุรอานได้ลอกแบบตามคัมภีร์อื่นแล้วไซร้ เหตุใดจึงไม่มีคำสั่งสอนและบทบาทเช่นเดียวกับศาสนาอิสลามเล่า

          4.คัมภีร์อัลกุรอาน เป็นคัมภีร์ที่มีเนื้อหาและสำนวนโวหารที่เป็นเลิศ หากว่าอัลกุรอานเลียนแบบคัมภีร์อื่นแล้วละก็ จะต้องมีข้อความที่ขัดแย้ง ขาดความชัดเจนเพราะจะมีแหล่งกำเนิดจากหลากหลายแห่งด้วยกัน นอกจากนั้นอัลกุรอานได้กล่าวถึงการใช้เหตุผลของมนุษย์อยู่เสมอ แท้จริงอัลกุรอานได้ตั้งอยูบนหลักฐานของข้อพิสูจณ์ที่เด่นชัด นอกจากนี้ยังได้เชิญชวนผู้ที่ไม่เห็นด้วย ดังปรากฏในซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 111 ความว่า

"จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า พวกท่านจงนำหลักฐานของพวกท่านมาหากพวกท่านเป็นผู้ที่พูดจริง"



และซูเราะฮ์ อันนัมล์ โองการที่ 64 ความว่า


"จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) จงนำหลักฐานของพวกท่านมาหากพวกท่านเป็นผู้สัจจริง"



          5. ส่วนวัฒนธรรมก่อนอิสลามนั้น ซึ่งมีการกล่าวอ้างว่า คัมภีร์อัลกุรอ่าน ได้เอามาด้วย มีหลักฐานที่ชัดแจ้งว่า อิสลามได้ปฏิเสธหลักการต่างๆ ก่อนอิสลาม ขนบธรรมเนียมที่ป่าเถื่อนและแบบอย่างที่ได้ยกเลิกไปแล้ว โดยได้นำหลักฐานที่ถูกต้องแทนที่ความชั่วร้ายดังกล่าว ด้วยหลักเกณฑ์ ขนบธรรมเนียมและแบบอย่างที่ดีงาม และเป็นที่ประจักชัดว่า ศาสนาอิสลามได้ปฏิเสธความเชื่อถือในยุคก่อนกำเนิดของศาสนาอิสลาม



หมวดที่ 1. พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานการดลใจจากพระผู้เป็นเจ้า (วะฮีย์) หรือสิงที่มนุษย์ประพันธ์ขึ้น....?


หมวดที่ 1. พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานการดลใจจากพระผู้เป็นเจ้า (วะฮีย์) หรือสิงที่มนุษย์ประพันธ์ขึ้น....?



         1.คัมภีร์อัลกุรอาน เป็นคัมภีร์ของอิสลามที่ประมวลบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักศีลธรรม และจริยธรรมอิสลามอย่างครบถ้วน และสามารถยืนยันได้ว่าคัมภีร์อัลกุรอานนั้นเป็นการดลใจจากพระผู้เป็นเจ้าโดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ การเชื่อมั่นและการศรัทธาในเรื่องนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมุสลิมผู้ศรัทธา 

         ด้วยเหตุนี้ศัตรูอิสลามทั้งในอดีตและปัจจุบันต่างใช้ความเพียรพยายามที่จะปฏิเสธความถูกต้องและที่มาของคัมภีร์อัลกุรอาน โดยพวกกราบไหว้รูปปั้นชาวมักกะฮ์ที่ต่อต้านอิสลามในสมัยนั้น ได้ใช้ความพยายามที่จะปฏิเสธว่าคัมภีร์อัลกุรอานไม่ใช่การดลใจ(วะฮีย์)จากพระเจ้า ตามคำกล่าวอ้างที่ปรากฏในอัลกุรอาน ซูเราะฮ์ อัลฟุรกอน โองการที่ 4 ความว่า



"แท้จริงอัลกุรอานนี้ มิใช่อื่นใด นอกจากคำโกหกที่มุฮัมมัด ได้แต่งขึ้นเองและหมู่ชนอื่นๆ ได้ช่วยเขาในเรื่องนี้"



และโองการที่ 5 ความว่า  

"อัลกุรอานเป็นนิยายของประชาชาติสมัยก่อนๆ ที่เขียนขึ้นและถูกนำอ่านให้ขึ้นใจทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็น"


รวมทั้งการกล่าวหาศาสดามุฮัมมัด ดังปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ซูเราะฮ์ อัลนะล์ โองการที่ 103 ความว่า

"แท้จริงสามัญชนคนหนึ่งสอนเขา"

         หรือว่าแท้จริงอัลกุรอานนั้น เป็นผลงานของนักมายากล หรือพวกที่ใช้ไสยศาสตร์ โดยที่พวกเขามีจุดมุ่งหมายที่จะหาทางปฏิเสธว่า คัมภีร์อัลกุรอานไม่ใช่การดลใจจากพระผู้เป็นเจ้าที่ประทานผ่าน ศาสดามุฮัมมัด  เพื่อเป็นทางนำแก่มวลมนุษย์ชาติ
   
        มีนักบูรพาคดีกลุ่มหนึ่งที่มีอคติต่อศาสนาอิสลาม ได้สนับสนุนข้ออ้างที่ผิดๆ ของพวกกราบไหว้รูปปั้น(เจว็ด)ชาวมักกะฮ์ โดยได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้คัมภีร์อัลกุรอานไม่ใช่เป็นการดลใจจากพระผู้เป็นเจ้าที่ประทานผ่านทางท่านศาสดามุฮัมมัด  ทั้งที่อัลกุรอานได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง

         มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันอย่างชัดแจ้งว่า แท้จริงศาสดามุฮัมมัด  เป็นผู้ไม่รู้หนังสือ เหตุนี้ท่านศาสดาจึงมอบหมายให้เหล่าสาวก และผู้ใกล้ชิดจดบันทึกโองการต่างๆ และถ้าหากว่าท่านศาสดาเป็นผู้รู้หนังสือแล้ว คงไม่วานให้ผู้อื่นดำเนินการ  การกล่าวหาว่าศาสดาได้นำเรื่องในคัมภีร์ของยิวและคริสต์(ไบเบิล)มาใช้ในคัมภีร์อัลกุรอ่านนั้น ไม่ใช่เรื่องผิดอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องที่ไร้สาระสิ้นดี เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือจะสามารถอ่าน เข้าใจ และถ่ายทอดเนื้อหาของคัมภีร์อื่นได้อย่างแจ่มแจ้ง จึงเห็นได้ชัดว่าข้ออ้างต่างๆ เหล่านั้นไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง หรือมีข้อพิสูจน์ใดๆเลย


          2.ท่านศาสดามุฮัมมัด  ทรงเผยแพร่ศาสนาอิสลามในนครมักกะฮ์ เป็นเวลา 13 ปี และไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าท่านได้ติดต่อกับชาวยิวตลอดระยะเวลาดังกล่าว และสำหรับชาวคริสต์นั้น มีหลักฐานที่ท่านเคยติดตามลุงที่ชื่อ "อบี ฏอเล็บ" เดินทางไปค้าขายที่ซีเรียในขณะที่มีอายุเพียง 9 ขวบ หรือ 12 ปีเท่านั้น โดยระหว่างที่กองคาราวานหยุดพักท่านศาสดาได้พบและสนทนากับบาทหลวง"บูไฮรี่"เพียงไม่กี่นาที เด็กอายุขนาดนั้นจะเข้าใจหลักเกณฑ์ และบทบัญญัติพื้นฐานของศาสนา ในระหว่างพบปะช่วงสั้นๆ ได้อย่างไร และเหตุใดเล่าที่บาทหลวงผู้นั้นได้เลือกเด็กชายอายุเพียงไม่กี่ปีเป็นคู่สนทนา เพื่อให้รู้จักหลักการของคริสต์ ทั้งๆที่มีผู้ใหญ่จำนวนมากมายในกองคาราวาน  และถ้าอย่างนั้นจึงมีคำถามว่าทำไมมุฮัมมัด  จึงต้องรอคอยเป็นเวลา 30 ปีเพื่อที่จะประกาศศาสนาอิสลาม

 เรื่องดังกล่าวนี้จึงเชื่อถือไม่ได้ นักบูรพาคดีผู้หนึ่งชื่อ Huart ได้ปฏิเสธเรื่องดังกล่าวโดยอย่างสิ้นเชิงและเห็นว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น โดยกล่าวว่า เอกสารและบันทึกภาษาอาหรับที่ถูกค้นพบ ศึกษาและเผยแพร่นั้น ต่างระบุว่าข้อความข้างต้นนั้นเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอย


      3. คัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่สอดคล้องกับศาสนาอื่นๆ ที่มีการดลใจจากพระผู้เป็นเจ้า และศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว โดยพระองค์เป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างในสากลจักรวาล ทุกสิ่งทุกอย่างมาจากพระองค์ จึงต้องกลับไปหาพระองค์แต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ดี อัลกุรอานได้ปฏิเสธคำสอนหลายประการของศาสนายิว และคริสต์ ฉะนั้นเหตุใดเล่าจึงกล่าวว่าศาสดามุฮัมมัด  ได้เลียนแบบคัมภีร์ของยิวและคริสต์ ถ้าสมมุติฐานเหล่านั้นเป็นจริง ย่อมหมายความว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างศาสนา และมันก็ไม่มีความหมาย

          และไม่มีคัมภีร์อื่นใดที่มีระบบเนื้อหา ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ ในบทบัญญัติกว่า 1,400 ปี แต่สิ่งเหล่านั้นเพิ่งจะถูกค้นพบในกลางศตวรรษที่ผ่านมา (ประมาณ 500 ปี) เมื่อนักดาราศาสตร์ไม่สามารถที่จะให้คำอธิบายปรากฏการต่างๆเหล่านั้นทางวิชาการ จึงได้ยอมรับว่าสิ่งเหล่านั้น มาจากพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นจะเป็นไปได้อย่างไรเล่าที่ศาสดาผู้ไม่รู้หนังสือจะสามารถมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ล้ำหน้า และจะกล่าวอ้างไม่ได้ว่าแหล่งข้อมูลเหล่านั้นมาจากคัมภีร์ของยิวหรือคริสต์ ซึ่งในคัมภีร์ของพวกเขาไม่ได้กล่าวถึงเรื่องเหล่านี้เลย


        ดังนั้นที่มาของบทบัญญัติในคัมภีร์อัลกุรอ่าน  จึงมีบ่อเกิดมาจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงพลานุภาพ และมิได้เกิดจากมนุษย์อย่างแน่แท้

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

แนะนำบรรดาผู้ที่ดำเนินอยู่ในความผิดพลาดจากผู้ที่ทำละหมาด

แนะนำบรรดาผู้ที่ดำเนินอยู่ในความผิดพลาดจากผู้ที่ทำละหมาด

หนังสือเล่มนี้ ที่ชื่อว่า إرشاد السالكين فى أخطاء المصلين เป็นหนังสือที่ เชค มะห์มูด มิสรี่ อบูอัมมาร ได้ทำการรวบรวมไว้ ความหมายเป็นภาษาไทยว่า "แนะนำบรรดาผู้ที่ดำเนินอยู่ในความผิดพลาดจากผู้ที่ทำละหมาด" 
จริงๆแล้ว คำว่า السالكين นั้น หมายถึง "ผู้ที่เดินทาง" ดังนั้น การเดินทางที่ว่านี้ จะเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจาก "ผู้ที่เดินทางไปสู่อัลเลาะห์" นั่นเอง และมันก็คงหนีไม่พ้นเรื่องที่เรากำลังทำกันอยู่ในทุกวันนี้ นั่นก็คือ เรื่องของการละหมาด สรุปให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือ ที่ชี้แนะเรื่องราวต่างๆของผู้ที่ทำละหมาด ที่ดำเนินอยู่บนความผิดพลาด ซึ่งบางครั้งตัวผู้ที่ทำละหมาดเองก็อาจจะไม่รู้ว่า สิ่งที่ตนเองได้กระทำอยู่นั้น มันคือเรื่องที่ผิด ผมอ่านดูแล้ว เห็นว่าน่าสนใจดี วันนี้ เลยขออนุญาตนำเสนอเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจครับ

บิดอะห์และความผิดพลาดในเรื่องของมัสยิด

1.การทิ้งละหมาดตะฮียะตุ้ลมัสยิด
ส่วนหนึ่งจากบรรดาข้อผิดพลาดที่แพร่หลายอยู่ในตัวผู้ที่ทำละหมาดนั้น ก็คือ การนั่งในมัสยิด โดยไม่ได้ทำการละหมาดตะฮียะตุ้ลมัสยิด ซึ่งมีรายงานจาก ท่านอบูกอตาดะฮ์(รด.)ว่า แท้จริงท่านร่อซู้ล (ซล.)ทรงกล่าวว่า 

إذا دخل أحدكم المسجد فليركع ركعتين قبل أن يجلس

ความว่า "เมื่อคนหนึ่งคนใดจากพวกท่านได้เข้ามัสยิด ดังนั้นเขาจงรู่กัวะอ์ (ละหมาด) 2 ร่อกาอัต ก่อนที่เขาจะนั่ง" บันทึกโดย ท่านอีหม่ามบุคอรีย์ หะดีษที่ 444

เสริม : ผู้คนส่วนมากมักจะเข้าใจว่า เมื่อคนหนึ่งได้เข้ามาในมัสยิดและก็ได้นั่งลงแล้ว ดังนั้นเวลาของการละหมาดตะฮียะตุ้ลมัสยิด ก็จะสิ้นสุดลงด้วยการนั่งนั้น แต่ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้น เพราะมีหะดีษของท่านอิบนุฮิบบานได้ระบุเอาไว้ว่า

ครั้งหนึ่ง ท่านอบูซัรร์(รด.)ได้เข้ามาในมัสยิด และท่านนบี (ซล.) ก็ได้กล่าวแก่เขาว่า

أركعت ركعتين ؟ ، قال لا ، قال قم فاركعهما

ความว่า "ท่านได้ละหมาด 2 ร่อกาอัตหรือยัง" ท่านอบูซัรร์ได้ตอบว่า ยัง ท่านร่อซู้ลก็ได้กล่าวว่า "ท่านจงยืนขึ้น และจงไปละหมาด 2 ร่อกาอัตเถิด" จาก ซอเฮี๊ยะอิบนุฮิบบาน

และท่านอีหม่ามอิบนุฮิบบาน ก็ได้ชี้แจงในเรื่องนี้ว่า : แท้จริงแล้ว การละหมาดตะฮียะตุ้ลมัสยิดนั้น จะไม่ขาดไปด้วยกับการนั่ง และอนุญาตให้เขาทำการละหมาดตะฮียะตุ้ลมัสยิดได้เช่นเดียวกัน ในช่วงเวลาต่างๆทั้งหมด จากช่วงเวลาที่ห้ามการละหมาด เช่น หลังละหมาดซุบฮี่ และหลังละหมาดอัสรี่ เพราะการละหมาดตะฮียะตุ้ลมัสญิดนั้น มันคือละหมาดชนิดหนึ่ง จากบรรดาละหมาดที่เป็นเจ้าของเหตุ เช่นเดียวกับละหมาดตอวาฟ และละหมาดจันทรคราส

2.การทิ้งดุอาอ์เข้าและออกจากมัสยิด
มีอยู่มากมายจากบรรดามุสลิม ที่ไม่รู้จักซุนนะห์ของท่านร่อซู้ล (ซล.)ในการเข้าและออกจากมัสยิด และไม่รู้ถึงบทดุอาอ์ที่ถูกรายงานมาในเรื่องดังกล่าว และเพราะเหตุดังกล่าวนี้ เรา (ผู้แต่งหนังสือ) จึงขอกล่าวแก่พวกเขาว่า : หากผู้ใดที่ต้องการเข้ามัสยิด สุนัตให้เขาเข้ามัสยิดด้วยเท้าขวา และออกจากมัสยิดด้วยเท้าซ้าย
เมื่อดุอาอ์นั้นเปรียบเสมือนกับช่อดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ดังนั้น จำเป็นแก่พวกท่าน(สมควรเป็นอย่างยิ่ง)ที่พวกท่านจะต้องกล่าวมันจากบรรดาดุอาอ์ของท่านร่อซู้ล (ซล.) เพื่อที่กลิ่นหอมนั้นมันจะได้ติดตามตัวเขาไป ทั้งในตอนเข้าและในตอนที่ออกจากมัสยิด

มีรายงาานจากท่านอนัส(รด.)ว่า แท้จริงท่านร่อซู้ล(ซล.)นั้น เมื่อได้เข้ามัสยิด ท่านก็จะกล่าวว่า
بسم الله ، اللهم صل على محمد
และเมื่อออกจากมัสยิดท่านก็กล่าวว่า
بسم الله ، اللهم صل على محمد
เป็นหะดีษหะซัน และท่านอิบนุสซุนนีย์ได้รายงานหะดีษนี้เอาไว้ในหนังสือของท่านที่ชื่อ عمل اليوم والليلة

และมีรายงานจากท่านอบูฮู่มัยด์ หรือ อบูอุซัยด์(รด.)ว่า ท่านร่อซู้ล(ซล.)ทรงกล่าวว่า

إذا دخل أحدكم المسجد ، فليسلم على النبي(صلى) ، ثم ليقل اللهم افتح لي أبواب رحمتك ، وإذا خرج فليقل اللهم إني أسألك من فضلك

ความว่า "เมื่อคนใดคนหนึ่งจากพวกท่านได้เข้ามัสยิด ดังนั้นให้เขากล่าวสลามแด่ท่านนบี (ซล.) ต่อมาก็ให้เขากล่าวว่า اللهم افتح لي أبواب رحمتك (โอ้อัลเลาะห์ ขอพระองค์ทรงเปิดประตูแห่งความเมตตาของพระองค์ให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด) และเมื่อเขาออกจากมัสยิด ก็ให้เขากล่าวว่า اللهم إني أسألك من فضلك (โอ้อัลเลาะห์ แท้จริงข้าพระองค์ ขอต่อพระองค์ท่านจากความโปรดปรานของพระองค์)" (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามมุสลิม หะดีษที่ 713 และท่านอิบนุมาญะฮ์ หะดีษที่ 722)

เสริม : ส่วนใหญ่ พวกเรามักจะละเลยจากการกล่าวดุอาอ์อันนี้ ซึ่งเป็นซุนนะห์ที่ไม่ยากเย็นเลย เพราะฉะนั้น พยายามกลับไปทำกันด้วยนะครับ เพื่อที่เราจะได้รับความโปรดปราณจากพระองค์จากถ้อยคำเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ แต่มันเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทางด้านของการตอบแทน เพราะดุอาอ์ ก็คือ มันสมองของอีบาดะห์ และเป็นการแสดงออกว่าผู้ที่ขอนั้น คือ บ่าวของพระองค์โดยแท้จริง

และมีรายงานจากท่านอับดุลเลาะห์บินอัมร์(รด.) ได้รายงานจากท่านนบี(ซล.)ว่า ครั้งหนึ่ง ท่านนบี(ซล.)ได้เข้ามาในมัสยิด และท่านก็กล่าวว่า

أعوذ بالله العظيم وبوجهه الكريم وسلطانه القديم من الشيطان الرجيم

และท่านนบี (ซล.) ก็กล่าวว่า "ใครกล่าวสิ่งดังกล่าว ชัยตอนจะกล่าวว่า วันนี้ทั้งวัน เขาถูกคุ้มครองให้ปลอดภัยจากฉันเสียแล้ว" (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามอบูดาวูด หะดีษที่ 466)
3.การเข้ามัสยิดด้วยการสวมเสื้อผ้าที่น่าเกลียดพร้อมกับมีความสามารถที่จะสวมสิ่งที่ดีกว่าได้
เราจะเห็นได้ว่า มีอยู่มากมายเลยจากบรรดาผู้ทำละหมาด ที่ได้ไปยังมัสยิดด้วยการสวมเสื้อผ้าที่มีรอยฉีกขาด เกรอะกรัง หรือ มีกลิ่นที่น่ารังเกียจ ในขณะที่ยืนอยู่หน้าพระพักตร์แห่งอัลเลาะห์ (ซบ.) นี่คือสิ่งที่เราอยากจะเรียกร้องให้พวกเขาทำการเปลี่ยนแปลงมันใหม่ด้วยกับเสื้อผ้าที่มีความเหมาะสม มิใช่เป็นการห้ามจากตัวของเขาที่จะมาทำละหมาด

แท้จริงอัลเลาะห์ (ซบ.) ได้ทรงส่งเสริมและสนับสนุนแก่ปวงบ่าวของพระองค์บนการประดับประดาให้เกิดความสวยงาม (แต่งตัวให้เหมาะสม) เมื่อต้องการไปมัสยิด ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า
ความว่า "โอ้วงศ์วานของอาดัมเอ๊ย พวกเจ้าจงสวมใส่เครื่องนุ่งห่มของพวกเจ้า ในทุกขณะ (ที่จะทำการภัคดีต่อพระองค์) ที่มัสยิดเถิด และพวกเจ้าจงกินจงดื่ม และอย่าสุรุ่ยสุร่าย แท้จริงพระองค์มิทรงรักบรรดาผู้สุรุ่ยสุร่าย" (ซูเราะห์ อัลอะอ์รอฟ อายะห์ที่ 31)

เสริม : บ่อยครั้งที่พวกเรามักจะลืมสำรวจตัวเราเองว่า เรากำลังจะเข้าเฝ้าพระองค์อัลเลาะห์ ทำให้เราไม่ค่อยสอดส่องในเรื่องของความสะอาด และเครื่องแต่งกาย ทั้งๆอิสลามของเราเน้นย้ำในเรื่องเหล่านี้เป็นอย่างมาก มิหนำซ้ำบางคนก็พกพากลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ตามไปละหมาดด้วย ซึ่งถือว่า เป็นการทำลายความคู่ชั่วะในการละหมาดของบุคคลอื่นด้วยเช่นกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสิ่งที่สวยงามเหล่าเอานี้ไว้ ของให้พวกเราจงมาสำรวจเรื่องนี้ และพยายามปรับปรุงให้ดีที่สุดเถิด

ยิ่งไปกว่านั้น ได้มีรายงานจากท่านอิบนุอุมัร (รด.) ว่า ท่านนบี (ซล.) ทรงกล่าวว่า

إذا صلى أحدكم فليلبس ثوبيه فإن الله تعالى أحق من تزين له

ความว่า "เมื่อคนหนึ่งคนใดจากพวกท่านจะทำละหมาด ดังนั้นเขาจงสวมใส่เสื้อผ้า 2 ชิ้นเถิด แท้จริงอัลเลาะห์ (ซบ.) คือผู้ที่เหมาะสมที่สุดแก่เขา จากผู้ที่เขาจะประดับดาให้" (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามอัฎต๊อบรอนีย์ ในหนังสือ อัลเอาซัฎ และซ่อฮีฮุ้ลญาเมี๊ยะ หะดีษที่ 650)
อธิบาย : หะดีษบทนี้ ได้สอนให้เรารับรู้ว่า แท้จริงอัลเลาะห์ (ซบ.) คือผู้ที่สมควรที่สุด ที่เราจะทำการแต่งกายให้สวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุกๆครั้งที่เราเข้าเฝ้าพระองค์ด้วยการละหมาด แม้ว่าเสื้อเพียงชิ้นเดียวนั้น จะสามารถปกปิดเอารัตของเราในการละหมาดได้ เราก็ควรที่จะไปหามาประดับประดาเพิ่ม เพื่อให้สวยงามที่สุดในการเข้าพระองค์ และควรเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสม และที่ดียิ่งให้ใส่ของหอมด้วย ไม่ว่าจะทำละหมาดคนเดียวหรือที่มัสยิดก็ตาม เพื่อเอาซุนนะห์ จาก 3 สิ่ง ที่ท่านนบี (ซล.) ทรงรักมากที่สุด นั่นคือ ละหมาด ของหอม และสตรีที่ซอและห์

4.การออกจากมัสยิดในขณะที่มีเสียงอาซาน
บางส่วนของผู้คนมักจะเดินออกจากมัสยิดหลังจากที่มีเสียงอาซานดังขึ้น การกระทำดั้งกล่าวนี้ ถือว่า เป็นความผิดพลาดที่น่าตำหนิ เพราะมีรายงานจากท่านอบูซะซาอ์ (รด.) ว่า

ครั้งหนึ่ง เรานั่งอยู่ในมัสยิดพร้อมกับท่านอบูฮู่รอยเราะห์ (รด.) ต่อมามู่อัซซิน (ผู้อาซาน) ก็ทำการอาซานเพื่อบอกเวลาละหมาด อยู่ๆก็ได้มีชายคนหนึ่งลุกขึ้นยืน และกำลังจะเดินออกจากมัสยิด ท่านอบูฮู่รอยเราะห์ (รด.) ก็ใช้สายตาของท่านมองตามชายคนนี้ไป จนกระทั่งชายคนนั้นได้เดินออกไปจากมัสยิด และท่านอบูฮู่รอยเราะห์ก็ได้กล่าวว่า แท้จริงเขาได้ฝ่าฝืนต่ออะบุ้ลกอเซ็ม (ซล.) แล้ว (ไม่ได้ปฎิบัตตามซุนนะห์) (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามมุสลิม เล่ม 5 / 219)

เสริม : ถือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ การที่คนๆหนึ่งเดินออกไปจากมัสยิดในขณะที่มีเสียงอะซาน ซึ่งสิ่งที่เขาสมควรทำ ณ เวลานั้น คือ ละทิ้งการกระทำทุกอย่าง และละทิ้งการพูดคุย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทั่วๆไป หรือ การพูดปราศรัย และถึงแม้ว่าจะเป็นการเรียนการสอนในเรื่องของศาสนาก็ตาม เพราะการอาซานนั้น คือการประกาศให้มนุษย์ได้รับทราบว่า ขณะนี้ได้ถึงเวลาของพระเจ้าแล้ว อันเป็นเวลาที่เราจะต้องละทิ้งการกระทำต่างๆของเราทั้งหมด และมุ่งตรงมาสู่การละหมาดเพื่อพระองค์

ท่านอีหม่ามนะวะวีย์ (รฮ.)ได้กล่าวว่า : ถือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ (มักโระห์) สำหรับการเดินออกไปนอกมัสยิดหลังจากเสียงอาซานสิ้นสุดลง จนกว่าเขาจะละหมาดฟัรดูเสียก่อน เวันแต่มีอุโซร (มีความจำเป็น)

เสริม : ดังนั้น เมื่อเสียงอาซานดังขึ้น เราควรสำรวมกิริยาและนิ่งฟังเสียงอาซาน ไม่พูดแทรก และถ้าเกิดมีอุโซร (มีความจำเป็นประการใดประการหนึ่งที่จะต้องออกไปนอกมัสยิด เช่น การที่คนหนึ่งมีน้ำละหมาดอยู่แล้ว และเกิดภายลมในขณะที่มีเสียงอาซาน) ที่ดีแล้ว ให้เขาออกไปเมื่อเสียงอาซานนั้นสิ้นสุดลง เพื่อมิให้เป็นการค้านกับแบบอย่างที่ดีของท่านอบูฮู่รอยเราะห์ จากตัวบททางด้านบน

5.การทำสิ่งใหม่ในมัสยิด
ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ถือเป็นข้อผิดพลาดในมัสยิด ก็คือ การที่คนๆหนึ่งได้นำกลิ่นไม่พึงประสงค์ออกมา (การผายลม) แท้จริงสิ่งดังกล่าวนั้นได้ส่งผลเสียต่อมาลาอีกะห์ของอัลเลาะห์ (มาลาอีกะห์รังเกียจมัน) และส่งผลเสียต่อบรรดามุสลิมที่มาทำการละหมาด

แท้จริงท่านนบี(ซล.)ได้ทรงกล่าวว่า

أن الملئكة تصلى على شخص الذى يأتي المسجد للصلاة فتقول : اللهم صل عليه اللهم ارحمه مالم يؤذى فيه مالم يحدث فيه ، قيل : وما يحدث ؟ ، قال : يفسو أو يضرط

ความว่า "แท้จริงมาลาอีกะห์นั้น จะกล่าวพรแก่ผู้ที่มายังมัสยิดเพื่อทำการละหมาด โดยกล่าวว่า ขออัลเลาะห์ทรงซอลาวาต(ยกดารอญัตและอภัยโทษ)แก่เขาด้วย และขอพระองค์ทรงเมตตาเขาด้วย ตราบใดที่เขาไม่สร้างผลเสียในมัสยิด และไม่ทำสิ่งไหม่" ก็มีผู้กล่าวขึ้นว่า : อะไรคือสิ่งไหม่ ? ท่านร่อซู้ลก็ทรงตอบว่า "การผายลมเบาๆ(ที่ไม่มีเสียง) หรือ การผายลม(ที่มีเสียง)" (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามมุสลิม หะดีษที่ 661 และอีหม่ามนะซาอีย์ 2 / 55)

6.การพูดคุยในเรื่องดุนยา
แท้จริงแล้วศาสนาอิสลาม มิได้ห้ามจากการพูดคุยในเรื่องทั่วๆไป(ที่อนุญาติให้พูดคุยได้)ในมัสยิด ตราบใดที่การสนทนานั้น ไม่ได้เป็นการรบกวนต่อผู้ที่กำลังทำอีบาดะห์ในมัสยิด แต่ทว่า เขาจะต้องไม่พูดในขณะที่มีการละหมาด หรือ กำลังเข้าสู่การละหมาด

เสริม : มีหะดีษอยู่บทหนึ่ง ซึ่งมีผู้ที่กล่าวอ้างว่า ท่านร่อซู้ลกล่าวว่า "ใครพูดคุยเรื่องดุนยาในมัสยิด อัลเลาะห์จะไม่รับการละหมาดของเขา 40 ปี" หะดีษนี้ เป็นหะดีษที่ด่ออีฟ และไม่อาจนำมาใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับฮู่ก่มการตัดสินทางด้านของฟิกห์ได้ ดังนั้น จึงไม่ถือว่ามีข้อห้ามแต่ประการใดที่เราจะพูดคุย หรือ สนทนากันในเรื่องที่มู่บาฮ์ตามหลักการของศาสนา

และได้มีการยืนยันจากบรรดาซอฮาบะห์ว่า แท้จริงพวกเขาได้สนทนากันในเรื่องราวที่พวกเขาเคยกระทำในยุคญาฮีลียะห์ บนการฟังของท่านร่อซู้ล (ซล.) ซึ่งในขณะนั้นพวกเขานั่งอยู่ในมัสยิด ท่านซัมมาก บิน ฮัรบ์ ได้กล่าวกับ ท่านญาบิร บิน ซ่ามู่เราะห์ ว่า : ปรากฏว่าฉันได้นั่งอยู่พร้อมกับท่านร่อซู้ล (ซล.)ใช่หรือไม่ ? (ชายคนนี้ถามด้วยความสงสัย) ท่านญาบิรก็ตอบว่า: ใช่, และก็กล่าวต่อไปว่า มีอยู่มากมายจากผู้คนที่จะยังไม่ลุกขึ้นจากที่ละหมาดของเขาในเวลาซุบฮี่ หรือ ละหมาดในยามเช้า จนกว่าดวงอาทิตย์จะขึ้น ครั้นเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว พวกเขาก็จะยืนขึ้น และปรากฏว่า พวกเขาก็จะพูดคุยกัน ดังนั้น พวกเขาก็จะนำเรื่องราวในสมัยญาฮีลียะห์มาสนทนากัน และพวกเขาก็จะหัวเราะกัน บ้างก็จะยิ้ม (บันทึกโดยอีหม่ามมุสลิม หะดีษที่ 670)

การสนทนาอันนี้ ถูกตีความไปบนการการสนทนาที่ไม่เป็นการรบกวน (สร้างความเสื่อมเสีย) แก่ผู้อื่น และเขาจะต้องไม่ห้ามผู้คนจากการกระทำสิ่งที่ศาสนาสั่งใช้ และแท้จริง การที่ท่านร่อซู้ล (ซล.)ได้ปล่อยพวกเขาไว้โดยมิได้ห้ามปรามนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากการดะอ์วะห์ของท่านอย่างเป็นขั้นตอน (คือเมื่อพวกเขามีอีหม่านที่สูงขึ้น พวกเขาย่อมรับรู้ว่าสิ่งใดควรพูดและสิ่งใดไม่ควรพูดในมัสยิด)

ประโยชน์ที่สำคัญ : บางส่วนของผู้คนมักจะห้ามจากการพูดจาในมัสยิดจากเรื่องทั่วๆไป ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการกล่าวถึงตัวบทของหะดีษ (ดังกล่าว) ที่พาดพึงไปยังท่านร่อซู้ล (ซล.) ซึ่งพวกเขาได้พาดพึงไปหาท่านร่อซู้ลด้วยตัวบทที่ว่า

الكلام في المسجد يأكل الحسنات كما تأكل النار الحطب

ความว่า "การพูดคุยในมัสยิดนั้น จะกิน (เผาพลาญ) ความดี เสมือนกับ การที่ไฟได้กิน (เผาพลาญ) ไม้ฟืน"

ท่านอีหม่ามตะกียุดดีน อัสซุบกีย์ ได้กล่าวถึงหะดีษบทนี้ว่า : ฉันไม่พบสายรายงานของมัน (จาก ต่อบะกอตุ้ชชาฟี่อียะห์ 4 / 145)
ดังนั้น หะดีษบทนี้ จึงไม่อาจเอามาเป็นหลักฐานเพื่อหักล้างจากการพูดคุยในมัสยิดได้

7.การใช้เสียงดังๆในมัสยิด
ส่วนหนึ่งจากข้อผิดพลาดที่น่าเกลียด ก็คือ การพูดคุยกันของผู้คนในมัสยิดจากเรื่องราวต่างๆของดุนยา โดยใช้เสียงที่สูง และเสียงที่ดัง อันเกิดจากการหัวเราะ จากการปรบมือชอบใจดังๆ และการผิวปากที่ก่อความรำคาญแก่ผู้อื่น สิ่งนี้ถือเป็น การทำลายข้อห้าม (ที่ไม่สมควรกระทำ) ในบ้านของอัลเลาะห์ (ซบ.) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ถูกจัดเตียมไว้เพื่อการอิบาดะห์ต่อพระองค์ และเช่นเดียวกัน การกระทำเหล่านี้ ยังเป็นการสร้างอันตราย (รบกวน) ผู้ทำการละหมาด และเป็นการห้าม (ความคู่ชั่วะอ์) ของผู้ที่ทำอีบาดะห์อีกด้วย

และแท้จริงท่านนบี(ซล.)ทรงห้ามจากการใช้เสียงดังๆในมัสยิด ซึ่งมีรายงานจากท่านอบูสอี๊ด อัลคุดรีย์ (รด.) ว่า : ครั้งหนึ่งท่านร่อซู้ล (ซล.) ทรงนั่งเอี๊ยะติกาฟอยู่ในมัสยิด และท่านก็ได้ยินพวกเขา (ซอฮาบะห์)เสียงดังด้วยกับการอ่าน (อัลกุรอาน) และก็มีการเปิดเผยเอาเราะห์ ดังนั้น ท่านนบี (ซล.) ก็ทรงตรัสว่า

ألا إن كلكم مناج ربه ، فلا يؤذين بعضكم بعضا ، ولا يرفع بعضكم على بعض فى القراءة

ความว่า "พึงทราบเถิดว่า แท้จริงพวกท่านเป็นผู้ที่มาเข้าเฝ้า (เป็นผู้ที่รำพึง,ภาวนา) ต่ออัลเลาะห์ ดังนั้น บางส่วนของพวกท่านอย่าได้สร้างอันตราย (รบกวน) ต่ออีกบางส่วน และบางส่วนของพวกท่านก็อย่ายกเสียงดังในการอ่าน (กุรอาน) ต่ออีกบางส่วน" (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามอบูดาวูด หะดีษที่ 1203 และอีหม่ามอะห์หมัด 3 / 94 ด้วยสายรายงานที่ซอเฮี๊ยะ)

และการห้ามในที่นี้ ก็คือ ในขณะที่มีการอ่านเสียงดังในเรื่องของการซิกรุ้ลลอฮ์และการอ่านอัลกุรอาน

เสริม : การอ่านกุรอ่านนั้น ไม่ควรอ่านเสียงดังเพื่อเอาอร่อยเพียงอย่างเดียว อีกทั้งการอ่านเสียงดังในมัสยิดนั้น ก็เป็นการรบกวนผู้ทำอีบาดะห์คนอื่นๆด้วย ที่ดีแล้วให้อ่านด้วยน้ำเสียงปานกลาง และอ่านให้ถูกต้องตามกฎของการอ่าน (ตัจวีด) และพยายามใคร่ครวญถึงความหมายของมัน และให้เหนียตเพื่อทำการศึกษาความหมายของมัน อันจะเป็นผลบุญในด้านของการศึกษาอีกทางหนึ่งด้วย ส่วนการซิกรุ้ลเลาะห์หลังละหมาดดังๆ หรือ เวลาใดก็แล้วแต่ ก็ควรคำนึงถึงผู้ที่ กำลังทำละหมาดสุนัตด้วย เพื่อมิให้เสียงของท่านไปรบกวนผู้ที่กำลังทำอีบาดะห์ต่ออัลเลาะห์ (ซบ.)

ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุด ก็คือ ควรอยู่ร่วมรำลึกถึงอัลเลาะห์พร้อมๆกับอีหม่ามและมะอ์มูมคนอื่นๆ ซึ่งไม่เป็นสมควรเลยที่จะลุกแยกตัวขึ้นไปทำละหมาดสุนัตในขณะที่อีหม่ามและมะอ์มูมคนอื่นๆกำลังร่วมกันทำวีริดหลังละหมาด ผมเห็นว่า ทางที่ดีแล้วให้ละหมาดสุนัตหลังจากวีริดเสร็จแล้ว เพราะจะได้ทั้งผลบุญของการซิเกร และผลบุญของการละหมาดสุนัต และไม่ถือเป็นการสร้างความแตกต่างในญามาอะห์อีกด้วย และไม่ทำให้ผู้ที่กำลังร่วมทำวีริดนั้น มีความผิดในฐานะรบกวนผู้ทำอีบาดะห์คนอื่นๆด้วย



8.การซื้อขายในมัสยิด
ส่วนหนึ่งจากบรรดาข้อผิดพลาด ก็คือ การซื้อขายในมัสยิด ซึ่งบางส่วนของผู้คนจะทำการซื้อขายกันในมัสยิด (ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเกลียดและไม่เหมาะสมทั้งการกระทำและสถานที่) และแท้จริงท่านนบี (ซล.)ทรงสั่งห้ามจากการทำสิ่งดังกล่าว โดยท่านได้กล่าวว่า

إذا رأيتم من يبيع أو يبتاع فى المسجد فقولوا له : لا أربح الله تجارتك

ความว่า "เมื่อพวกท่านเห็นใครที่กำลังทำการค้า หรือ กำลังซื้อขายกัน ในมัสยิด ดังนั้น พวกท่านจงกล่าวแก่เขาเถิดว่า : อัลเลาะห์ไม่ทำให้ท่านมีกำไรจากการซื้อขายนี้หรอก" (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามติรมีซีย์ 1 / 248 และอีหม่ามฮากิม 2 / 56 ด้วยสายรายงานที่ซอเฮี๊ยะ จากท่านอบีฮู่รอยเราะฮ์)

9.การวางม้านั่งในมัสยิดสำหรับมู่บัลลิฆ (مبلغ) "ผู้ที่ทำหน้าที่ประกาศคำกล่าวของอีหม่าม"
ส่วนหนึ่งจากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในมัสยิด ก็คือ การวางม้านั่งไว้ในมัสยิด ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่อาซาน หรือ มู่บัลลิฆ "ผู้ที่ทำหน้าที่ประกาศคำกล่าวของอีหม่าม" จะใช้นั่งเวลาทำหน้าที่ หรือ ผู้ที่อ่านซูเราะห์อัลกะห์ฟี่ในคืนวันศุกร์จะใช้มันเพื่อนั่งอ่าน และการวางเก้าอี้เอาไว้ในมัสยิดโดยจัดเตรียมไว้ให้กับการอ่านดังกล่าวก็เช่นเดียวกัน(ถือว่าเป็นข้อผิดพลาดตามทัศนะของผู้แต่งหนังสือ) ซึ่งเตียมไว้สำหรับผู้ที่ให้ความสำคัญกับมัสยิด(คือผู้ที่จะอยู่ทำอีบาดะห์ในมัสยิดในคืนวันศุกร์)

เสริม : จากตรงนี้ ผมเข้าใจว่า จริงๆแล้วผู้แต่งหนังสือต้องการจะบอกเราว่า ไม่อนุญาติให้เรานำเก้าอี้ หรือ ม้านั่ง มาวางไว้ในมัสยิดในส่วนของตัวอาคารที่ใช้ทำการอีบาดะห์ แต่ถ้าหากวางไว้รอบๆมัสยิดนั้น ไม่ถือว่า มีข้อห้ามแต่ประการใด และไม่อนุญาตให้ผู้ทำหน้าที่ประกาศคำเชิญชวน "มู่อัซซิน" หรือ "มู่บัลลิฆ" นั้น นั่งอาซาน หรือ นั่งบอกคำกล่าวของอีหม่าม ส่วนการนำเก้าอีมานั่งสำหรับคนที่มีอุโซร "มีความจำเป็น" เช่น ชรา หรือ ป่วยไม่สามารถยืนละหมาดนานๆได้ ก็อนุญาตให้เอามานั่งได้ และเมื่อเสร็จจากการละหมาดแล้ว ก็ให้นำออกไปนอกตัวอาคารที่ใช้ทำละหมาด
ส่วนในกรณีของการนำเก้าอี้มาจัดเตรียมไว้เพื่อการนั่งอ่านซูเราะห์อัลกะห์ฟี่เป็นการเฉพาะในคืนวันศุกร์นั้น ตามความเข้าใจของผู้แต่งนั้น คือ ไม่อนุญาตให้ทำเช่นกัน เพราะไม่มีแบบอย่างจากการกระทำเช่นนั้นในยุคของท่านร่อซู้ล (ซล.) และยุคของบรรดาซอฮาบะห์ (ในเรื่องของการจัดเตรียมเก้าอี้เอาไว้เพื่อการอ่านเป็นพิเศษ) ที่ดีแล้ว สมควรที่จะนั่งอ่านกับพื้นมัสยิด (แต่สำหรับผู้ที่นำมานั่งอ่านโดยไม่ได้จงใจจะทำเป็นเป็นการเฉพาะ ก็ถือว่า อนุญาตให้ทำได้ แต่ที่ดีแล้ว ควรจะนั่งอ่านกับพื้นของมัสยิดเพื่อรักษาไว้ซึ่งมารยาทที่สวยงามในมัสยิด)

ส่วนการรวมตัวกันเพื่อทำการอ่านเป็นกรณีเฉพาะ (โดยไม่ได้นั่งอ่านบนเก้าอี้หรือม้านั่งที่เตียมไว้)นั้น ก็อาจจะมองได้เป็น 2 กรณี คือ

1. ไม่อนุญาตให้ทำเช่นนั้น เพราะไม่มีแบบอย่างและที่มาจากการรวมตัวกันเพื่ออ่านซูเราะห์กะห์ฟี่ในคืนวันศุกร์ แต่ที่อนุญาตให้ทำได้จากกรณีนี้ ก็คือ ต่างคนต่างทำ และสามารถกระทำได้ทั้งที่บ้านและมัสยิด

2. อนุญาตให้ทำได้ เช่น การที่คนหนึ่งนำอ่าน และคนอื่นๆก็อ่านตาม โดยอาศัยหลักฐานแบบกว้างๆของอายะห์อัลกุรอานที่อัลเลาะห์ (ซบ.) ทรงตรัสว่า

فاستبقوا الخيرات

ความว่า "ดังนั้นพวกเจ้าทั้งหลายท่านจงแข่งขันกันในเรื่องของความดี" (ซูเราะห์ อัลบากอเราะห์ อายะห์ที่ 148)

จากหลักการกว้างๆของอายะห์ ก็คือ ให้เราแข่งขันกันในการทำความดี แต่มิใช่หมายถึง "จัดการแข่งขันการทำความดีเป็นการเฉพาะ" แต่อายะห์นี้ หมายถึง ให้เราทั้งหลายตักตวงกระทำในสิ่งที่มันเป็นความดีงาม โดยแข่งกันทำในสิ่งที่เป็นคุณงามความดีต่างๆ (มิใช่แข่งขันเพื่อเอาชนะ) ซึ่งเดิมทีก็เป็นลักษณะนิสัยของบรรดาซอฮาบะฮ์อยู่แล้ว ดังนั้น การรวมตัวเพื่ออ่านอัลกุรอ่าน (ซูเราะห์กะห์ฟี่ หรือซูเราะห์อื่นๆ) ในค่ำคืนวันศุกร์นั้น จึงอนุญาตให้ทำได้ แม้ว่ารูปแบบของการรวมตัวเพื่ออ่านนั้น จะไม่เคยมีปรากฏอยู่ในสมัยของท่านร่อซู้ลและสมัยของบรรดาซอฮาบะห์ก็ตาม เช่นเดียวการรวมตัวกันเพื่อทำความดีในงานต่างๆ แม้ว่างานนั้น ไม่มีปรากฏอยู่ในสมัยของท่านร่อซู้ลและสมัยของบรรดาซอฮาบะห์ เพียงแต่ผู้กระทำจะต้องไม่ไป "เอี๊อะติกอด" ยึดมั่นว่า การรวมตัวนั้น คือ อิบาดะห์ที่มีรูปแบบเฉพาะ หรือ เป็นรูปแบบของศาสนา ถ้าอย่างนี้ ก็จะตกเป็นบิดอะห์ในฐานะที่ไปรวมตัวกันกระทำในสิ่งที่ไม่มีตัวบททางศาสนา

เมื่อเข้าใจตามนี้ ก็อนุญาตให้รวมตัวและกระทำการอ่านได้ โดยอาศัยหลักฐานกว้างจากอายะห์อัลกุรอานดังได้กล่าวมาแล้ว และอาศัยหลักฐานสนับสนุนจากหะดีษที่รายงานจากท่าน ญ่ารีร บิน อับดุลเลาะห์ ที่ว่า ท่านร่อซู้ล (ซล.) ทรงกล่าวว่า

"ใครก็ตามที่ได้วางแนวทางหนึ่งไว้ในอิสลาม ซึ่งเป็นแนวทางที่ดี และก็มีผู้ที่ปฏิบัติตามแนวทางนั้นหลังจากเขา ก็จะถูกบันทึกให้กับเขาซึ่งผลบุญ เท่ากับผลบุญของผู้ที่กระทำตามแนวทางนั้น โดยไม่ลดหายไปเลยสักสิ่งหนึ่ง และใครก็ตามที่ได้วางแนวทางหนึ่งไว้ในอิสลาม ซึ่งเป็นแนวทางที่ชั่วร้าย และก็มีผู้ที่ปฏิบัติตามแนวทางนั้นหลังจากเขา ก็จะถูกบันทึกให้กับเขาซึ่งบาป (ความผิด) นั้น เท่ากับบาปของผู้ที่กระทำตามแนวทางนั้น โดยไม่ลดหายไปเลยสักสิ่งหนึ่ง" (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามมุสลิม จากซอเฮี๊ยะมุสลิม ช่าเราะห์โดยท่านอีหม่ามนะวาวีย์ 16 / 226)

ดังนั้น ผู้ที่ชักชวนผู้คนทำความดีด้วยการร่วมกันอ่าน จึงถือว่า เป็นการริเริ่มจากแนวทางที่ดีตามครรลองของศาสนา และสอดคล้องกับการริเริ่มด้วยรูปแบบที่ดีตามหลักกว้างๆของหะดีษบทนี้ จึงอนุญาตให้รวมตัวกันเพื่ออ่านได้ โดยมีข้อแม้ คือ จะต้องไม่ไปยึดมั่นว่า การรวมตัวกันเพื่ออ่านนั้น คือ รูปแบบทางศาสนาที่มาจากอัลเลาะห์และร่อซู้ล



10.การเอามัสยิดเป็นทางผ่าน
 ถือเป็นเรื่องที่ผิดพลาดอีกเช่นกัน ในการเอามัสยิดเป็นทางผ่าน ที่ใช้ผ่านจากสถานที่หนึ่งไปสู่อีกสถานที่หนึ่ง แท้จริงท่านนบี (ซล.) ทรงห้ามจาการกระทำดังกล่าว จากคำกล่าวของท่านที่ว่า

لا تتخذوا المساجد طرقا الا لذكر أو صلاة

ความว่า "พวกท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดเอามัสยิดเป็นแนวทาง(เพื่อใช้ผ่าน) เว้นแต่เพื่อการรำลึกถึง(อัลเลาะห์) หรือ เพื่อทำละหมาด" (รายงานโดย ท่านฎ๊อบรอนีย์ ในหนังสือ อัลก่าบีร จากท่านอิบนุอุมัร และซ่อฮีฮุ้ลญาเมี๊ยะอ์ หะดีษที่ 7215)

เสริม : การห้ามตรงนี้ ตกอยู่ในข่ายของ "มักโร๊ะห์" คือ ไม่สมควรกระทำ ไม่ใช่ถือเป็นเรื่อง "ฮ่ารอม" ที่ต้องห้ามโดยเด็ดขาด ดังนั้นที่ดีแล้ว ควรจะเลี่ยงจากการใช้มัสยิดเป็นทางสัญจรเพื่อจะผ่านไปในอีกสถานที่หนึ่ง เพราะไม่เหมาะสมจากการทำให้บ้านของอัลเลาะห์เป็นสถานที่สำหรับทางสัญจร แต่ถ้าหากมีอุโซร (มีอุปสรรค) ที่ต้องอาศัยมัสยิดเป็นทางผ่านจริงๆ เช่น ลืมของสำคัญไว้ ถ้าจะเดินอ้อมมัสยิดก็คงอีกนาน ของที่ลืมไว้อาจจะหายได้ อย่างนี้ ก็อนุโลมให้ผ่านได้โดยไม่ถือเป็นมักโร๊ะห์

11.การห้ามจากการศึกษาวิชาและการแสวงหาความรู้จากมัสยิด
และแท้จริงมันได้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นการอุตริในศาสนา นั่นคือ การไล่ผู้ที่มาละหมาด หรือ ผู้ที่แสวงหาวิชาความรู้ในมัสยิด หลังจากละหมาดอีชาแล้ว และห้ามพวกเขาจากการแสวหาวิชาความรู้ และการดับพัดลม หรือ ปิดไฟ บนพวกเขา เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการละหมาด(เช่นในกรณีของคนที่กำลังทำละหมาดสุนัตหลังละหมาดอีชา) เพื่อที่จะปิดมัสยิด และแท้จริงแล้ว ปรากฏว่าตามซุนนะห์นั้น มีการเปิดมัสยิดไว้โดยตลอดในทุกๆเวลา (เพื่อจะมีผู้คนที่มาทำการละหมาดหรือมาทำอีบาดะห์อื่นๆในยามคำคืน) เพราะแท้จริงสิ่งดังกล่าวนั้น คือ ร่องรอย (แบบอย่าง) ที่มาจากมัสยิดของท่านร่อซู้ล (ซล.) ในสมัยของท่าน และสมัยของบรรดาคอลีฟะห์อัรรอชี่ดีน (รด.)

เสริม : ที่ดีแล้ว ผู้ที่เป็นอีหม่ามจะต้องแต่งตั้งคนหนึ่งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการดูแลมัสยิดโดยเฉพาะ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่จะอยู่ทำอีบาดะห์ต่อในมัสยิด หลังจากละหมาดอีชาแล้ว หรือ เพื่อทำการศึกษาหาความรู้ หรือ เพื่อจะมาทำอีบาดะห์ต่อในยามค่ำคืน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวที่ท่านร่อซู้ลและบรรดาซอฮาบะห์ได้กระทำเป็นแบบอย่างเอาไว้

12.การสูบบุหรี่ในห้องน้ำของมัสยิด
ถือเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว การสูบบุหรี่นั้น มันคือ สิ่งต้องห้ามในทุกๆเวลาและทุกๆสถานที่ (ตามทัศนะของผู้แต่งหนังสือที่มองว่าบุหรี่นั้น เป็นสิ่งต้องห้าม) และถือว่าห้ามมากขึ้นไปอีก เมื่อนำไปสูบในบ้านของอัลเลาะห์ (คือในมัสยิด)

ดังนั้น ท่านจะพบได้ว่า มากมายเลยจากผู้ที่มาละหมาด เมื่อได้เข้าไปห้องน้ำของมัสยิด เขาก็จะจุดไฟสูบบุหรี่ มิหนำซ้ำ บางท่านยังเข้ามัสยิดในสภาพที่บุหรี่นั้น ยังคงคาอยู่ที่ปากของเขา จนกระทั่งเมื่อเขาได้ไปถึงที่ละหมาด เขาถึงจะดับไฟของบุหรี่ และเข้าสู่การละหมาดในทันที (ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจมาก) เพราะเป็นการบกวน (สมาธิ) ของพี่น้องของเขาที่มาร่วมละหมาดจากกลิ่นของบุหรี่ (ที่ติดมากับตัวของเขา)

เสริม : บทสรุปจากเรื่องของการสูบบุหรี่นั้น ไมได้มีตัวบทที่ชัดเจนจากการสั่งห้าม เพราบุหรี่นั้น เกิดมาในยุคหลังจากการวะฟาตของท่านร่อซู้ล (ซล.) นับเป็นร้อยๆปี เนื่องจากพึ่งจะเป็นที่รู้จักในโลกอาหรับเมื่อตอนปลายศตวรรษที่ 10 หรือต้นศตวรรษที่ 11 แห่งฮิจเราะห์ศักราช (ตรงกับปลายศตวรรษที่ 16 หรือต้นศตวรรษที่ 17 แห่งคริสต์ศักราช) ทำให้นักวิชาการของอิสลามที่อยู่ในยุคต่อมา คือ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 11 แห่งฮิจเราะห์ศักราช ต้องทำการวิเคราะห์และวินิจฉัย และผลของการวิเคราะห์และวินิจฉัยนั้น ก็มีความแตกต่างกัน เท่าที่ผมศึกษาและวิเคราะห์ดูนั้น สามารถแยกฮู่ก่มของการสูบบุหรี่ได้ 3 ทัศนะใหญ่ๆ คือ

1.ถือว่า "ฮ่ารอม" นักวิชาการที่ยึดทัศนะนี้ เช่น ท่านอีซา อัชชะฮาวีย์ , ท่านอับดุลบากีย์ , ท่านมุฮัมมัด อิบนุซิดดี๊ก อัซซุบัยดีย์ จากนักวิชาการในสายของอีหม่ามฮานาฟีย์ / ท่านอิบรอฮีม อัลลิกอนีย์ , ท่าน อะบุ้ลฆอยซ์ อัลเกาะชาช จากนักวิชาการในสายของอีหม่ามมาลีกีย์ / และท่านเชคนัจญ์มุจดีน อัดดิมัชกีย์ , ท่านเชคอิบนุอิลาน อัศศิดดีกีย์ , ท่านอุมัร อิบนุ อับดุรเราะมาน อัลหุสัยนีย์ , ท่านชัยค์ อามิร อัชชาฟิอีย์ , เชคอัลกอลยูบีย์ , และเชคอัลบุญัยรีมีย์ จากนักวิชาการในสายของอีหม่ามชาฟีอีย์ / และท่านเชคอะห์มัด อัสสันฮูรีย์ อัลบะฮูตีย์ จากนักวิชาการในสายของอีหม่ามอะห์หมัด.

นักวิชาการกลุ่มนี้ได้ให้เหตุผลว่า : เพราะยาสูบทำให้เกิดอาการมึนเมา และทุกสิ่งที่ทำให้เกิดความมึนเมานั้น เป็นสิ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาด (ฮ่ารอม) ดังนั้น การบริโภคยาสูบจึงเป็นสิ่งที่ฮ่ารอม นักวิชาการกลุ่มนี้ให้เหตุผลอีกว่า หากไม่ถึงขนาดทำให้มึนเมา แต่แน่นอนมันทำให้เกิดความเชื่องช้า เซื่องซึม และเหนื่อยอ่อน ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามอีกเช่นเดียวกัน ดังปรากฏในหะดีษที่เล่าจากท่านหญิงอุมมู่ สะละมะฮ์ ว่า

نهى رسول الله صلى الله عليه وسلم عن كل مسكر ومفتر

ความว่า แท้จริงท่านร่อซู้ล(ซล.)ทรงห้ามจากทุกสิ่งที่ทำให้มึนเมาและสิ่งที่ทำให้อิดโรยเซื่องซึม” (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามอบูดาวูด จากอุมมุสะละมะฮ์ หะดีษที่ 3688)

นักวิชาการกลุ่มนี้ได้ให้เหตุผลเพิ่มเติมอีกว่า การบริโภคยาสูบเป็นสิ่งต้องห้ามเด็ดขาด เพราะก่อภยันตราย 2 ด้านด้วยกัน คือ เป็นภัยต่อร่างกาย และเป็นภัยต่อทรัพย์สิน
- ภัยต่อร่างกาย คือ ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง ทำให้สีหน้าซีดเหลือ และมีอาการไออย่างรุนแรงและอาจนำไปสู่การเป็นวัณโรคได้ แม้ว่าอาการจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆก็ตาม
- ภัยต่อทรัพย์สิน คือ เป็นการใช้จ่ายทรัพย์สินอย่างฟุ่มเฟือย และไม่ก่อประโยชน์ใดๆทั้งต่อร่างกายและจิตวิญญาณ อีกทั้งไม่มีคุณค่าทั้งในโลกดุนยาและโลกอาคิเราะฮ์

2.ถือว่า "มักโร๊ะห์" นักวิชาการที่ยึดทัศนะนี้ เช่น ท่านเชคอะบูซะฮล์ มุฮัมมัด อิบนุ อัลวาอิฎ ,ท่านอิบนุอาบิดีน จากนักวิชาการในสายของอีหม่ามฮานาฟีย์ / เชคยูซุฟ อัศศิฟะตีย์ จากนักวิชาการในสายของอีหม่ามมาลีกีย์ / ท่านอัชชัรวานีย์ จากนักวิชาการในสายของอีหม่ามชาฟีอีย์ / ท่านอัรร่อฮีบานีย์ , และเชคอะห์หมัด มุฮัมมัด อัลมันกูร อัตตะมีมีย์ จากนักวิชาการในสายของอีหม่ามอะห์หมัด.

นักวิชาการกลุ่มนี้ได้ให้เหตุผลว่า : เพราะยาสูบมีกลิ่นฉุนที่น่ารังเกียจ จึงถือเป็นสิ่งที่มักโร๊ะห์ โดย  กิยาสกับหัวหอม กระเทียม หรือสิ่งอื่นที่มีกลิ่นที่น่ารังเกียจเช่นเดียวกัน และได้ให้เหตุผลอีกว่า บุหรี่นั้น ก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองทรัพย์สิน และแม้ว่าการใช้จ่ายในการบริโภคยาสูบ จะไม่ถึงขนาดที่เรียกว่าสุรุ่ยสุร่าย หรือเข้าข่ายการทำลายทรัพย์สินโดยเปล่าประโยชน์ก็ตาม เพราะถือเป็นพฤติกรรมที่ทำให้ทรัพย์สินสิ้นเปลือง ร่อยหรอลง โดยไม่คุ้มค่า ทั้งที่ควรนำไปใช้จ่ายในสิ่งที่ดีกว่าและเกิดประโยชน์มากกว่าทั้งต่อตัวเองและสังคม

ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺว่าเป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องจากหลักฐานที่นักวิชาการในกลุ่มที่เห็นว่าการบริโภคยาสูบเป็นสิ่งต้องห้ามได้นำมาอ้างอิงนั้น เป็นเพียงหลักฐานจากการกิยาส ซึ่งให้ผลลัพท์ในเชิงปฎิบัติได้เพียง "อาจเป็นไปได้ว่าต้องห้าม" หรือ "มีความหมายทางการคาดคะเน"  (الظن) เท่านั้น หลักฐานดังกล่าว จึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะนำไปเป็นหลักฐานในการตัดสินว่า การบริโภคยาสูบนั้นเป็นสิ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาด หรือ หะรอม แต่ก็สามารถที่จะนำไปเป็นหลักฐานอ้างอิงได้ว่า การบริโภคยาสูบเป็นสิ่งต้องห้ามที่ไม่เด็ดขาด หรือ มักโร๊ะห์ นั่นเอง

3.ถือว่า "มู่บาฮ์" นักวิชาการที่ยึดทัศนะนี้ เช่น ท่านเชคอับดุลฆอนีย์ อัลนาบละซีย์ , เชคมูฮำมัด อัลอับบาซีย์ อัลมะฮ์ดีย์ จากนักวิชาการในสายของอีหม่ามฮานาฟีย์ / ท่านอลี อัลอัจญ์ฮูรีย์ , ท่านอัดดุสูกีย์ , และท่านเชคศอวีย์ จากนักวิชาการในสายของอีหม่ามมาลีกีย์ / ท่านเชคหะฟะนีย์ , ท่านเชคหะละบีย์ , ท่านอัชชุบรอมละซีย์ , ท่านอับดุลกอดิร อิบนุ มุฮัมมัด อิบนุยะห์ยา อัลหุซัยนีย์ จากนักวิชาการในสายของอีหม่ามชาฟีอีย์ / ท่านอัลกะรอมีย์ , และท่านอีหม่ามอัชเชากานีย์ จากนักวิชาการในสายของอีหม่ามอะห์หมัด

นักวิชาการกลุ่มนี้ได้ใช้หลักกออีดะห์ที่ว่า : الأصل في الأشياء الإباحة حتى يرد نص بالتحريم แปลว่า "หลักเดิมของทุกสิ่งนั้นเป็นที่อนุมัติ จนกว่าจะมีหลักฐานห้าม" โดยได้นำกออีดะห์นี้ มาเป็นตัวกำหนดกฎเกณฑ์ของการมู่บาฮ์ในเรื่องของบุหรี่ เพราะเมื่อยาสูบไม่มีหลักฐานที่มากำกับห้ามไว้โดยเฉพาะ ทั้งจากอัลกุรอานและอัสซุนนะห์ จึงเป็นสิ่งที่อัลเลาะห์ (ซบ.) ทรงอภัยให้ และในการฮู่ก่มว่ายาสูบเป็นสิ่งต้องห้าม (ฮ่ารอม) หรือ เป็นสิ่งน่ารังเกียจ (มักโร๊ะห์) อาจเป็นการทำอุตริกรรมต่ออัลเลาะห์ ซึ่งถือว่าเป็นความผิดมหันต์ ดังนั้น จึงต้องระมัดระวังจากพฤติกรรมดังกล่าว ฉะนั้น จึงไม่มีทางออกอันอื่น นอกจากต้องฮู่ก่มว่า การบริโภคยาสูบนั้น "เป็นสิ่งอนุมัติ" (มู่บาฮ์) เพราะเป็นการตัดสินไปตามหลักเดิม และท่านนบีมูฮำหมัด (ซล.) นั้น ในขณะท่านถูกถามเกี่ยวกับเรื่องสุราหรือสิ่งมึนเมานั้น ท่านก็ไม่ด่วนตัดสินก่อนที่จะมีโองการแห่งอัลกุรอานประทานลงมา ทั้งๆที่ท่านอยู่ในสถานะของผู้ที่สามารถชี้ขาดได้ แต่ท่านก็ประวิงเวลาเอาไว้ จนกระทั่งอัลเลาะห์ (ซบ.) ทรงประทานอัลกุรอานลงมาเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า สุรานั้นเป็นสิ่งต้องห้าม ดังนั้น ในกรณีของ บุหรี่ หรือ ยาสูบ เมื่อมีการถามถึงฮู่ก่ม หรือ ความชอบธรรมทางศาสนาอิสลาม จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะตอบว่า สิ่งนี้ถือว่า "มู่บาฮ์" แม้ว่ากลิ่นของมันจะเป็นที่น่ารังเกียจก็ตาม เพราะความน่ารังเกียจตรงนี้ มันเกิดขึ้นตามธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ใช่เป็นความน่ารังเกียจที่เกิดขึ้นตามหลักการของศาสนา

ส่วนเรื่องของความมึนเมา เสียสติ และภยันตรายจากการสูบนั้น ที่จะนำมาเป็นข้ออ้างในการฮู่ก่มห้ามนั้น ถือว่า ยังไม่ชัดเจน นักวิชาการกลุ่มนี้จึงมีความเห็นว่า ยาสูบ หรือ บุหรี่ นั้นไม่ได้ทำให้เกิดการมึนเมา และเสียสติ ที่ต้องห้ามสูบ เพราะการมึนเมานั้น หมายถึง การเสียสติสัมปชัญญะในขณะที่ยังแข็งแรงและสามารถเคลื่อนไหวอวัยวะร่างกายได้ และการเซื่องซึมขาดสตินั้น ก็หมายถึง การเสียสติสัมปชัญญะในขนาดที่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียไม่สามารถเคลื่อนไหวใดๆได้ ซึ่งทั้ง 2 กรณีนี้ มิได้เกิด จากการบริโภคยาสูบ หรือ การสูบบุหรี่ เป็นการเฉพาะ แม้ว่าบุคคลที่ไม่เคยสูบนั้น อาจจะมีอาการมึนๆ หรือ ตึงๆ บ้าง แต่นั่นก็ไม่อาจนำมาเป็นเหตุผลว่า บุหรี่ หรือ ยาสูบ เป็นสิ่งต้องห้าม ที่ "ฮ่ารอม" ตามหลักการของศาสนา

แต่ทัศนะจากนักวิชาการส่วนมากในยุคหลังนั้น ถือว่า บุหรี่ นั้น เป็นสิ่งต้องห้าม ผู้ที่มีทัศนี้ เช่น เชคอับดุลอซีซ บิน บาซ , เชคมูฮำหมัด บิน ซอและห์ อัลอุษัยมีน , เชคยูซุฟ อัลกอรฎอวีย์ , เชคมะห์มูด ชัลตูต , ท่านเชคซัยยิดซาบิก , เชคอับดุลญะลี้ล ชะละบีย์
ดังนั้น ทัศนะที่ถือว่า "ชัดเจนที่สุด" ก็คือ ทัศนะที่ถือว่า การสูบบุหรี่นั้น "เป็นสิ่งที่ฮ่ารอม" โดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้ :
1.เป็นการนำตัวเองเข้าสู่ความหายนะ ดังโองการที่ว่า

ความว่า "และพวกเจ้าจงอย่ายื่นมือของพวกเจ้าสู่ความหายนะ" (ซูเราะห์ อัลบากอเราะห์ อายะห์ที่ 195)

2.การสูบบุหรี่นั้น อยู่ข่ายของความสุรุ่ยสุร่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่อัลเลาะห์ (ซบ.) ทรงห้าม ดังโองการที่ว่า

ความว่า "และพวกเจ้าทั้งหลายจงกิน จงดื่ม แต่พวกเจ้าอย่าสุรุ่ยสุร่าย แท้จริงอัลเลาะห์ไม่รักบรรดาผู้สุรุ่ยสุร่าย" (ซูเราะห์ อัลอะอ์รอฟ อายะห์ที่ 31)

3.เป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนรอบข้าง

ความว่า "และบรรดาผู้ที่สร้างความเดือดร้อนแก่มวลผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิง ด้วยสิ่งที่พวกเขามิได้พากเพียรไว้ แน่นอน พวกเหล่านั้นย่อมต้องแบกความเท็จ และบาปอันชัดแจ้ง" (ซูเราะห์ อัลอะห์ซาบ อายะห์ที่ 58)

4.บุหรี่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เพราะมีกลิ่นเหม็น

ความว่า "จงกล่าวกับพวกเขาเถิดว่า แท้จริงอัลเลาะห์มิทรงใช้ให้ (พวกเขา) กระทำสิ่งที่น่ารังเกียจหรอก" (ซูเราะห์ อัลอะอ์รอฟ อายะห์ที่ 28)

และโดยส่วนมากของนักวิชาการจากมหาลัยอัล-อัซฮัรนั้น ก็มองว่า การสูบบุหรี่นั้น เป็นสิ่งต้องห้ามเช่นเดียวกัน โดยสภาฟัตวาของอัล-อัซฮัร ได้ออกแถลงการณ์ว่า "บรรดาผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ และการสัมมนาด้านการแพทย์แห่งโลกต่างก็มีความเห็นสอดคล้องกันว่า บุหรี่นั้น เป็นที่ประจักษ์ชัดอย่างไร้ข้อสงสัยว่า เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะเป็นต้นเหตุของโรคมะเร็งในปอด มะเร็งในลำคอ และเป็นอันตรายต่อระบบการหมุนเวียนโลหิต.." จึงถือว่า มันเป็นสิ่งต้องห้าม (จากหนังสือพิมพ์ไคโร ฉบับวันที่ 22 มีนาคม 1979)

13.การอ่านบางส่วนของอายะห์หรือซูเราะห์ในช่วงที่อยู่ระหว่าง อาซาน กับ อีกอมะห์
ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ไม่มีแบบอย่าง และไม่มีที่มา นั่นคือ การนั่งอ่านอัลกุรอ่านในส่วนหนึ่งของซูเราะห์หรืออายะห์ใดก็ตาม ในขณะที่อยู่ระหว่าง อาซาน กับ อีกอมะห์ (ในทัศนะของผู้แต่งหนังสือนั้นถือว่า การกระทำนี้ เป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะห์ที่ฮ่ารอม) และเป็นการรบกวนผู้ที่กำลังทำการละหมาดซุนนะห์รอตีบะห์ (ละหมาดสุนัตก๊อบลียะห์) เพราะมันทำให้หายไปกับความคู่ชั่วะอ์ของผู้ที่กำลังทำละหมาด

เสริม : นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่น่าคิด เพราะสำหรับตัวผมเอง(ผู้แปล)นั้น ก็มองว่า การอ่านกุรอ่านนั้น ไม่น่าจะมีเวลาที่มาจำกัดห้าม นอกจากในสถานที่ๆไม่เหมาะสม เช่น ในห้องน้ำ เป็นต้น ดังนั้น การที่ผู้แต่งหนังสือ ได้จำกัดเวลาของการห้ามอ่าน จึงถือว่าเป็นทัศนะของผู้แต่งเอง ที่มองว่า ไม่มีที่มาจากกระการทำของบรรดาซอฮาบะห์ จึงไม่อนุญาตให้ทำการอ่านอัลกุรอานในช่วงเวลานั้น แต่สำหรับผม (ผู้แปล) นั้น มีทัศนะที่ต่างกว่า นั่นก็คือ ไม่อนุญาตให้ไปจำกัดการห้ามอ่านในช่วงเวลาดังกล่าว เพราะเป็นการห้ามจากสิ่งที่ไม่มีตัวบทมาห้าม กอปรกับกออีดะห์ที่ว่า "หลักเดิมของทุกสิ่งนั้นเป็นที่อนุมัติจนกว่าจะมีหลักฐานห้าม" ดังนั้น จึงไม่อนุญาตในการที่จะห้ามจากการกระทำที่ไม่มีตัวบทมาห้าม ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า การที่ผู้แต่งเข้าใจเช่นนั้น เพราะมีความปรารถนาดี เพื่อมิให้เป็นการรบกวนผู้ที่กำลังทำละหมาด และอาจมองว่า มันไม่มีที่มาจากบรรดาซอฮาบะห์ จึงไม่อนุญาตให้ทำการอ่านอัลกุรอานในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น แต่เหตุผลนั้น ก็ไม่ใช่หลักฐานที่เด็ดขาดในการที่จะมาจำกัดห้าม เพราะตัวบทที่มาจำกัดห้ามจากการกระทำดังกล่าวก็ไม่มีเช่นเดียวกัน กระผม (ผู้แปล) จึงมีทัศนะที่แตกต่างจากผู้แต่ง มิใช่เป็นการอาจหาญ หรือ อวดโต เพียงแต่ต้องการนำเสนอข้อมูลอีกมุมมองหนึ่ง เพื่อให้พี่น้องได้เกิดความเข้าใจในหลักการของศาสนาที่มีความยืดหยุ่น และเพื่อมิให้เกิดความคับแคบในการนับถือศาสนา จากตรงนี้ จึงพอสรุปได้ ออกเป็น 2 ทัศนะ คือ
1. ไม่อนุญาตให้อ่านกุรอานในช่วงเวลาดังกล่าว เพราะไม่มีแบบอย่าง

2. อนุญาตให้อ่านได้ เพราะถือว่า ไม่มีหลักฐานที่เด็ดขาดมาจำกัดห้าม โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องอ่านให้เบาที่สุดเพื่อมิให้เป็นการรบกวนผู้ที่กำลังทำละหมาด

แต่สำหรับทางด้านของความเหมาะสมแล้ว กระผม(ผู้แปล) ก็มีทัศนะเช่นเดียวกับผู้แต่งว่า ไม่สมควรที่จะอ่านในช่วงเวลาดังกล่าวเช่นเดียวกัน เพราะช่วงเวลานั้น เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดจากการทำละหมาดซุนนะห์ก๊อบลียะห์ แต่ไม่ถือว่า "ห้ามอ่าน" สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะทำอีบาดะห์ต่ออัลเลาะห์(ซบ.) เช่น หลังจากละหมาดซุนนะห์เรียบร้อยแล้ว ยังไม่ได้เวลาที่มู่อัซซินจะทำการอีกอมะห์ อย่างนี้ ก็ถือว่าอ่านได้ และผู้อ่านก็จะได้รับผลบุญจากการอ่านด้วยเช่นเดียวกัน และอนุญาติเช่นเดียวกันที่จะทำการดุอาอ์ หรือ ทำการซิกรุ้ลเลาะห์ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นด้วย....วัลลอฮู่อะอ์ลัม

14.การนำเครื่องไม้เครื่องมือของมัสยิดไปใช้ในสถานที่อื่น
ส่วนหนึ่งจากบรรดาข้อผิดพลาดที่เกี่ยวพันกับมัสยิด ก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับบางส่วนของผู้คน ซึ่งพวกเขาจะนำบางส่วนของสิ่งที่มีอยู่ในมัสยิด เช่น พัดลมที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ไม้กวาดชนิดต่างๆ และในบางครั้งก็มีการนำเครื่องขยายเสียงของมัสยิดออกไปใช้นอกสถานที่ เช่น ในบางวาระ หรือ ในโอกาสต่างๆ

ท่านอีหม่ามอิบนุ้ลนู่ฮาซ ได้กล่าวเอาไว้ว่า : "ส่วนหนึ่งจากมัน (จากข้อผิดพลาด) ก็คือ การยืมของที่ถูกจำกัดในมัสยิด (ไปใช้นอกมัสยิด) และการประดับโคมไฟ (ระย้า) ในงานเลี้ยง หรือ งานรื่นเริงต่างๆ ซึ่งสิ่งดังกล่าวนั้น ถือว่า ไม่อนุญาต"

เสริม : การยืมที่ว่านี้ มิใช่หมายถึงการยืมของวากัฟของมัสยิด แต่หมายถึงการยืมสิ่งที่อยู่ในมัสยิดจากพัดลมที่ถูกใช้อยู่เป็นประจำในสถานที่ที่ทำละหมาด หรือ ในส่วนหนึ่งของมัสยิด เอาออกไปใช้นอกสถานที่ของมัน เช่น ไมค์อาซาน หรือ เสื่อละหมาดของอีหม่าม ไมค์ที่ใช้ในการละหมาดอยู่เป็นประจำ หรือ อุปกรณ์อื่นๆ เช่นไม้กวาด ซึ่งเป็นของวากัฟที่ใช้ในมัสยิด ที่ถูกใช้อยู่เป็นประจำ ในกรณีอย่างนี้ไม่อนุญาตที่จะนำออกไปใช้นอกสถานที่ของมัน ซึ่งแตกต่างจากกรณีของการยืมของที่ถูกวากัฟไว้ ที่ทางมัสยิดอนุญาตให้ยืมใช้ได้ เช่น พวกถ้วยจาน หรือ พัดลมที่เตรียมไว้เพื่อให้ยืมไปใช้ อย่างนี้อนุญาตให้ยืมไปใช้ได้ และต้องนำกลับมาคืนในสภาพเดิมของมัน หรือ หากมีการชำรุดก็ควรซ่อมแซมให้ดี หรือ แล้วแต่ทางคณะกรรมการมัสยิดนั้นจะเป็นผู้กำหนดในกรณีที่ของวากัฟเกิดการเสียหาย ดังกล่าวนั้นแหละ คือ ความหมายของข้อห้ามในการยืมเครื่องไม้เครื่องมือของมัสยิด...

โดย...เป็นแค่คนรอง