หมวดที่ 3 หะดีษต่างๆของท่านศาสดา เป็นสิ่งที่ถูกต้องและเที่ยงแท้หรือไม่
ด้วยปรากฏว่ามีนักบูรพาคดีชาวตะวันตก ชื่อ goldzieher ยังคงสงสัยเกี่ยวกับหะดีษของท่านศาสดามุฮัมหมัด(ซ.ล.)
ว่าอาจจะไม่เป็นเรื่องที่ถูกต้องแท้จริง
โดยเห็นว่าหะดีษดังกล่าว
เป็นเพียงสิ่งซึ่งชาวมุสลิมได้คิดค้นขึ้นมาเองในสมัยแรกเริ่มอิสลาม และต่อไปนี้
คือการตอบโต้ข้อเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ
1. หะดีษ หรือ สุนนะห์
เป็นบ่อเกิดของอิสลามที่มีความสำคัญอันดับสองรองลงมาจากคัมภีร์อัลกุรอ่าน ทั้งนี้
เนื่องจากท่านศาสดา ทรงได้รับบัญชาในอัลกุรอ่าน
ให้เผยแพร่สิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าประทาน ดลใจมาให้แก่มนุษย์ทั้งปวง
และในขณะเดียวกัน ก็ได้บัญชาให้ท่านศาสดาขยายความ และอรรถาธิบายอัลกุรอ่าน ดังปรากฏในอัลกุรอ่าน ซูเราะห์ อัลมาอีดะห์
โองการที่ 67 ความว่า “โอ้รอซูลเอ๋ย จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้า จากพระเจ้าของเจ้า
และถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ เจ้าก็มิได้ประกาศสาสน์ของพระองค์
และอัลเลาะห์นั้นจะทรงคุ้มกันเจ้าให้พ้นจากมนุษย์ แท้จริงอัลเลาะห์นั้น ไม่ทรงแนะนำพวกที่ปฏิเสธศรัทธา ”
และในซูเราะห์อัลนะห์ โองการที่ 44 ความว่า
“ ด้วยหลักฐานทั้งหลายที่ชัดแจ้ง และคัมภีร์ต่างๆที่ศักดิ์สิทธิ์ และเราได้ให้อัลกุรอ่านแก่เจ้า
เพื่อเจ้าจะได้ชี้แจง (ให้กระจ่าง) แก่มนุษย์
ซึ่งสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาแก่พวกเขา และเพื่อที่พวกเขาจะได้ไตร่ตรอง
”
และในโองการที่ 64 ความว่า “และเรามิได้ให้คัมภีร์นี้ลงมาแก่เจ้า เพื่ออื่นใด
เว้นแต่เพื่อให้เจ้าชี้แจงให้แจ่มแจ้งแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขาขัดแย้งกัน
และเพื่อเป็นการชี้แนวทางและเป็นเมตตาแก่หมู่ชนผู้ศรัทธา”
และการอรรถาธิบายอัลกุรอ่านดังกล่าว
ก็คือหะดีษ และแนวทางปฏิบัติของท่านศาสดา ซึ่งรวมถึงคำพูด พฤติกรรม และ
การยอมรับของท่าน โดยที่ท่านศาสดาเอง
ได้ชี้แจงถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามหะดีษของท่าน
ซึ่งปรากฏอยู่ในสุนทรพจน์อำลาครั้งสุดท้าย ก่อนที่พระองค์จะทรงสิ้นพระชนว่า “ข้าพเจ้าได้ทิ้งสองอย่างไว้กับพวกท่าน
และหากพวกท่านยึดถือและปฏิบัติตามทั้งสองอย่างนี้แล้ว พวกท่านไม่มีวันหลงทาง นั่นก็คือ
อัลกุรอ่าน และแนวทาง(หะดีษ) ของฉัน”
2. ถึงแม้จะมีการยอมรับกันว่า มีหะดีษ หลายเรื่อง
ที่มิใช่เป็นของท่านศาสดาก็ตาม แต่ทว่า นักวิชาการอิสลาม
ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้เสมอ โดยนักวิชาการเหล่านั้น
ได้ตรวจสอบความถูกต้องของหะดีษต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ คัมภีร์อัลกุรอ่านได้วางหลักเกณฑ์สำหรับการวินิจฉัยดังปรากฏหลักฐานในอัลกุรอ่าน
ซูเราะห์อัลหุจญรอจน์ โองการที่ 6
ความว่า “
โอ้ศรัทธาชนทั้งหลายหากคนชั่วนำข่าวใดๆมาแจ้งแก่พวกเจ้า
พวกเจ้าก็จงสอบสวนให้แน่ชัด” ในการพิจรณาถึงความถูกต้องของหะดีษนี้นั้นต้องคำนึงถึงบุคลิก
อุปนิสัย ตลอดจนความประพฤติทางศิลธรรมของทุกคน
ที่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรายงานหะดีษของท่านศาสดา และวิธีการดังกล่าวนี้
ได้ถูกนำมาใช้สำหรับพัฒนาการของการค้นคว้าทางด้านประวัติศาสตร์
3.สืบเนื่องจากความสำคัญของหะดีษ ที่มีต่อศาสนาอิสลาม
บรรดานักวิชาการจึงได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาหะดีษให้มีความถูกต้อง
โดยจำแนกหะดีษที่แท้จริง ออกจากหะดีษปลอมเป็นส่วนๆไป จากนั้น
จึงได้ก่อตั้งสาขาวิชาขึ้นใหม่เพื่อศึกษาวิชาฮะดีษเป็นการเฉพาะ โดยสาขาวิชาดังกล่าวนั้น
คือวิชาที่ว่าด้วยคุณลักษณะของผู้รายงาน วิชาที่ว่าด้วยการสืบสายหะดีษ
ในการนี้ท่านศาสดา ทรงกล่าวเตือนผู้ซึ่งกล่าวข้อความที่เป็นเท็จ
มีการกระทำที่ไม่ดีต่อตนว่า “ผู้ใดที่ตั้งใจจะกล่าวเท็จต่อฉัน
ก็จงเตรียมหาที่พักพิงในนรก”
4.ในบรรดานักวิชาการทั้งหลายที่ได้อุทิศค้นคว้าหะดีษที่แท้จริงของท่านศาสดานั้น
คือ ท่านอีหม่ามอัลบุคอรี(มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 810-870)
เป็นผู้ที่ได้รวบรวมหะดีษไว้มากกว่าครึ่งล้านเรื่อง
แต่หลังจากที่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดและในเชิงวิชาการแล้ว
คงเหลือเก้าพันเรื่องที่ถือว่าเป็นหะดีษที่แท้จริง
อย่างไรก็ตามในจำนวนเก้าพันหะดีษนั้น มีหลายเรื่องที่มีข้อความซ้ำซ้อนกัน
จึงตัดให้เหลือประมาณ 3000 หะดีษ
5.ผลจากความพยายามอย่างที่สุดของนักวิชาการหะดีษ ที่ทุ่มเท ค้นคว้า การตรวจสอบ
ความถูกต้องที่แท้จริงของฮะดีษ และแป็นที่ยอมรับเกี่ยวกับเรื่องนี้
มีหนังสือเพียงหกเล่มที่ได้รวบรวมหะดีษ โดยตรงคือ ซอเฮียะห์ อัลบุคอรี ซอเฮียะห์
มุสลิม ซุนันนาซาอี ซุนันอาบีดาวุด ซุนันอัรตัรมีซี และซุนันอิบนิมายะ
นอกจากนั้นยังมีเอกสารทางวิชาการเผยแพร่อีกมากมายของผู้แต่งชาวมุสลิม
ที่ได้เขียนเรื่องหะดีษต่างๆที่ถูกปฏิเสธ จึงเป็นเรื่องที่ชัดเจนว่า
นักวิชาการมุสลิมหลายคน ได้ให้ความสำคัญกับการรวบรวมหะดีษที่แท้จริงเป็นอย่างมาก
และเป็นเรื่องที่ไร้เหตุผลที่ยังมีผู้สงสัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป